จุดเด่นของหลักสูตร
ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ และ
เทคโนโลยีการอาหาร มีทักษะปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ รวมทั้ง
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ตลอดจนความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีจิตวิญญาณของการถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้และจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มุ่งผลิต
มหาบัณฑิตที่มีความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารระดับสูง สามารถสร้างองค์ความรู้
งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารหรือผู้ใช้บัณฑิต ทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติ และภูมิภาคอาเซียน มหาบัณฑิตมีทักษะทั้งในวิชาชีพและทักษะในการทำงาน สามารถประยุกต์ใช้วิชาชีพได้อย่างเหมาะสมและมีคุณธรรมและจรรยาบรรณ
ความสำคัญของหลักสูตร
เพื่อตอบสนองแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่ได้ระบุ
แนวทางการพัฒนาการเกษตรสู่ความเป็นเลิศด้านอาหาร การเจริญเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ แนวโน้ม
ความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค และพันธกิจ เป้าหมาย เป้าประสงค์ ปณิธานและวิสัยทัศน์
ของมหาวิทยาลัยนเรศวร การผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีการอาหารที่มีศักยภาพสูงในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎี การศึกษาวิจัย และ
องค์ความรู้ใหม่เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจริงและการก้าวให้ทันกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ในปัจจุบัน จึงมีความสำคัญและจำเป็นทั้งนี้เพื่อนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตหรือแปรรูปอาหารอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหาร และการเพิ่มความสามารถ
ในการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวข้างต้น จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เพื่อรองรับความต้องการการเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาและเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีการอาหารเพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงาน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1) พนักงานฝ่ายผลิต/ ฝ่ายประกันคุณภาพ/ ฝ่ายวิจัยและพัฒนา/ ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต
และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
2) นักวิชาการ/ นักวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ของหน่วยงานภาครัฐและ
ภาคเอกชน
3) เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา หรือ ตรวจรับรอง ระบบการบริหารการผลิต/ ระบบการบริหารคุณภาพ และ
ที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
4) อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของภาครัฐและเอกชน
5) ผู้ประกอบการอิสระ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 เชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
ELO2 อธิบายและวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีการอาหารขั้นสูงและสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานได้จริง
ELO3 วางแผนและดำเนินงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้
อย่างเหมาะสม
ELO4 แสดงภาวะความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับในความคิดเห็น
ที่แตกต่าง
ELO5 สามารถสื่อสารข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสู่ชุมชนและ
สังคม ทั้งในระดับชาติ/นานาชาติ