คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Master of Science Program in Computer Science


จำนวนรับเข้าศึกษา
8 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 37,500/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: -
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถนำหลักการและทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ร่วมกับความรู้เฉพาะทางในแขนงของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ วิจัย หรือสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งไม่หยุดพัฒนาทักษะของตนเองในศาสตร์ทางเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้อย่างตรงประเด็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายบนพื้นฐานคุณธรรม ยึดมั่นในจริยธรรม และมีจรรยาบรรณทางด้านวิชาการรวมถึงวิชาชีพ
ความสำคัญของหลักสูตร
    ศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมโดยตรง องค์ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการผสมผสานศาสตร์อื่น ๆ ในการแก้ปัญหาและการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หลักสูตรจึงได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนการสอนเพื่อให้มหาบัณฑิตมีความรอบรู้ที่ลุ่มลึกในวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) และการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based education หรือ OBE) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการทําวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนํางานวิจัยไปต่อยอดเป็นนวัตกรรม และนําไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจดิจิทัลแบบยั่งยืนได้
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1) นักวิจัยและนักวิชาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัย/หน่วยวิจัย

2) นักพัฒนา วิเคราะห์ และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์  ผู้จัดการหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้ประกอบการอิสระ หรือผู้ก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยี

3) อาจารย์ในสถาบันการศึกษา หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

4) อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO 1 วิเคราะห์คุณสมบัติของอัลกอริทึมและระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีทางวิทยาการคอมพิวเตอร์; analyze the properties of algorithms and  computing systems using the theoretical underpinnings of Computer Science 

ELO 2 ออกแบบซอฟต์แวร์ที่มีระบบการทำงานที่ซับซ้อน; design software which contributes to large, multi-layered/multi-machine systems 

ELO 3 พัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ปัญหาปลายเปิด ปัญหาการทำงานจากองค์กร หรือ ปัญหาจากโลกจริง; develop software which employs intelligence and learning to solve complex, open-ended, work-based practice, or real-world problems 

ELO 4 นำแนวทางที่เหมาะสมไปใช้ในการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน หรือปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในแขนงใดแขนงหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งแขนงในศาสตร์วิทยาการคอมพิวเตอร์; implement viable solutions to current and emerging problems within one or more sub-fields of Computer Science 

ELO 5 ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม หรือทางเทคนิคอื่น ๆ เพื่อให้ผู้รับข้อมูลเฉพาะกลุ่มเข้าถึงและเข้าใจความรู้และข้อมูลดังกล่าวได้ง่าย; convey scientific, engineering, or other technical information to create easily accessible information for a specific audience 

ELO 6 ทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อบรรลุเป็นหมายในโครงการวิจัยในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ ในสหวิทยาการ; collaborate on research projects within the field or interdisciplinary 

ELO 7 ปฏิบัติตามมาตรฐานของสังคม หลักจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต; uphold the community standards and personal integrity with a commitment to honesty