คณะพยาบาลศาสตร์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

Master of Nursing Science Program in Community Nurse Practitioner


จำนวนรับเข้าศึกษา
20 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 37,500/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-966650
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
     หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มีความมุ่งมั่นให้นิสิตสามารถในการให้บริการสุขภาพแก่บุคคลทุกกลุ่มวัยตั้งแต่แรกเกิด วันเด็ก วัยผู้ใหญ่ วันสุงอายุ และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ปรัชญาของหลักสูตร
     คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเชื่อว่า การสร้างความก้าวหน้า ทางวิชาการให้กับพยาบาล โดยให้มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนครอบคลุมบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพบนพื้นฐานของผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มุ่งพัฒนาหลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรม เชื่อมโยงและบูรณาการความรู้เชิงประจักษ์จากศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง งานวิจัย โดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และการได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์จริง ทั้งนี้เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความเป็นผู้นำ สามารถจัดการปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน และออกแบบบริการในการดูแลสุขภาพประชากรทุกกลุ่มทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน และปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เพื่อจัดการ/แก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน
ความสำคัญของหลักสูตร
     การจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มุ่งให้ผู้เรียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เน้นการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรคเบื้องต้นที่พบบ่อยของประชาชนในชุมชน การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในบริบทของครอบครัวและชุมชน ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพของชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงปัญหาสุขภาพของโลก และให้มีความทันสมัยและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม การจัดการในหลักสูตรนี้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และข้อบังคับของสภาการพยาบาล ซึ่งเป็นกระบวนการเตรียมพยาบาลเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพ และสอดคล้องกับพันธกิจของคณะพยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยนเรศวรที่มุ่งเป็นไทจากอวิชา
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. เป็นพยาบาลผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ทั้งในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ในหน่วยบริการอื่นๆ เช่น กองสาธารณสุข องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
2. เป็นนักวิชาการหรืออาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาและสถาบันทางวิทยาศาสตร์สุขภาพด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน หรือการพยาบาลชุมชน
3. เป็นนักวิจัยในคลินิกหรือโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ และระบบสุขภาพชุมชน


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

PLO1 ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพทางการพยาบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถให้เหตุผลและ
ตัดสินเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล และแสดงออกถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ
PLO2 วิเคราะห์ความรู้จากศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งใช้ผลการวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติและการปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล
- อธิบายศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง
PLO3 วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถประเมินปัญหา ออกแบบบริการ จัดการและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล ในการดูแลผู้ใช้บริการ ครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO4 ผลิตงานวิจัย บริหารจัดการโครงการ และสร้างสรรนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชน และพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
PLO5 พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและเครือข่ายสุขภาพได้และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการจัดการทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในระบบบริการระดับปฐมภูมิ
PLO6 สื่อสารข้อมูลสารสนเทศกับกลุ่มบุคคลต่างๆ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านเวชปฏิบัติชุมชน
- สื่อสารข้อมูลสารสนเทศกับกลุ่มบุคคลต่างๆ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน