คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

Master of Engineering Program in Electrical Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
10 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 25,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964373
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรมีเป้าหมายที่จะบ่มเพาะวิศวกรไฟฟ้าที่มีความเชี่ยวชาญเชิงลึก เนื้อหาของหลักสูตรมีการปรับปรุงให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและตลาดแรงงาน มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ฝึกให้เป็นนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีทักษะเป็นเลิศ หลักสูตรส่งเสริมคุณลักษณะเฉพาะทางวิชาชีพในด้านวิศวกร ด้านทักษะภาษาอังกฤษ และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นและอาเซียนเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต

ปรัชญาของหลักสูตร
    1. ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่มีจรรยาธรรม ความรู้ ทักษะด้านการสื่อสาร สามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาต่อชุมชนและสังคม 2. ความสำคัญ จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์ระดับชาติในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมาเป็นกำลังแรงงานสำคัญในการพัฒนาอุตสหกรรมของประเทศ ดังนั้นในการผลิตบุคลากร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตสังคมและประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอล ที่มีความผันผวนในการเปลี่ยนแปลงสูงไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ดังนั้นจึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีพันธกิจที่สำคัญในการผลิตบัณฑิต ในระดับการศึกษาขั้นสูง (มหาบัณฑิต) ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อันได้แก่ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) อันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสากลโลก ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในครั้งนี้ต้องการสร้างอัตลักษณ์นิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวรให้ครบถ้วน คือเป็นทั้ง คนดี คนเก่ง มีวินัย ภูมิใจในชาติ และได้ยึดถือปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้หลักสูตรมีความเป็นสากล (Internationalization) มีการสร้างและใช้นวัตกรรม (Innovation) ทั้งในด้านความรู้และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมในการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตในอนาคต และมีการบูรณาการ (Integration) ในศาสตร์ของสาขาวิชาร่วมกับศาสตร์ที่อื่นเกี่ยวข้อง รวมถึงการเป็นบัณฑิตที่มีความถึงพร้อมและยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรม (Integrity) ซึ่งปรัชญาหลักสูตรใหม่ที่ได้บัญญัติไว้ 7 ประการนี้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งสามารถแสดงได้ดังตาราง (ในเล่ม มคอ.2 หน้า 8)
ความสำคัญของหลักสูตร
    จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์ระดับชาติในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมาเป็นกำลังแรงงานสำคัญในการพัฒนาอุตสหกรรมของประเทศ ดังนั้นในการผลิตบุคลากร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตสังคมและประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอล ที่มีความผันผวนในการเปลี่ยนแปลงสูงไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ดังนั้นจึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีพันธกิจที่สำคัญในการผลิตบัณฑิต ในระดับการศึกษาขั้นสูง (มหาบัณฑิต) ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อันได้แก่ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) อันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสากลโลก ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในครั้งนี้ต้องการสร้างอัตลักษณ์นิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวรให้ครบถ้วน คือเป็นทั้ง คนดี คนเก่ง มีวินัย ภูมิใจในชาติ และได้ยึดถือปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้หลักสูตรมีความเป็นสากล (Internationalization) มีการสร้างและใช้นวัตกรรม (Innovation) ทั้งในด้านความรู้และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมในการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตในอนาคต และมีการบูรณาการ (Integration) ในศาสตร์ของสาขาวิชาร่วมกับศาสตร์ที่อื่นเกี่ยวข้อง รวมถึงการเป็นบัณฑิตที่มีความถึงพร้อมและยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรม (Integrity) ซึ่งปรัชญาหลักสูตรใหม่ที่ได้บัญญัติไว้ 7 ประการนี้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการประจำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

2. วิศวกรไฟฟ้าหรือนักวิจัยประจำบริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3. ผู้ประกอบธุรกิจด้านไฟฟ้า และด้านอื่น ๆ



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO 1 สามารถประพฤติปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการหรือวิชาชีพ

ELO 2 สามารถอธิบายทฤษฎีและแนวทางการปฏิบัติทางวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า

ELO 3 สามารถอธิบายความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาสาระรายวิชาของสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ELO 4 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและพัฒนาแนวคิดริเริ่มเพื่อตอบสนองประเด็นหรือปัญหา

ELO 5 สามารถสังเคราะห์และใช้ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการมาวิเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

ELO 6 สามารถวางแผนและปฏิบัติงานด้วยตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นในการทำงานของกลุ่มได้

ELO 7 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพได้ด้วยตนเอง

ELO 8 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา ค้นคว้าและสรุปปัญหา

ELO 9 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับกลุ่มบุคคลทั้งในวงการวิชาการ วิชาชีพ และชุมชน ได้อย่างเหมาะสม

ELO 10 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมในการสืบค้นข้อมูลและเผยแพร่ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ