จำนวนรับเข้าศึกษา
3 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
35,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-963334
E-mail: maliwann@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
1) มีความรู้ วามเข้าใจในวิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถบูรณาการความรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากล 2) มีทักษะและความชำนาญในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) มีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างองค์ความรูู้ใหม่ และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นจากการบูรณาการความรู้ต่างๆ ทางชีววิทยา พันธุศาสตร์ พฤกษศาสตร์ ชีวเคมี วิศวกรรม และ/หรือจุลชีววิทยา ที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จะมุ่งสู่มหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research University) เพื่อการพัฒนางานวิจัยที่โดดเด่นและมีคุณภาพ
ความสำคัญของหลักสูตร
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการนำความรู้ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง สิ่งมีชีวิต และผลผลิตที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงดัดแปรผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรม ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดโยชน์ด้านต่างๆ และมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทั้งในระดับประเทศและระดับสากลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านการเกษตร เภสัชกรรม การแพทย์ พลังงาน และอาหาร เป็นต้น
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1) อาจารย์
2) นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์
3) พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4) ผู้ประกอบการ
5) นักพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวาภพ
6) ผู้ให้คำปรึกษา (Consultant) บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยชีวภาพ
7) อาชีพอิสระ
8) อาชีพอื่นที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
EL01 ปฏิบัติตนและปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณทางวิชาการ
ELO2 เชื่อมโยงองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพกับงานวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีมุมมองเชิงธุรกิจ
ELO3 วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอย่างเป็นระบบ
ELO4 ประเปมินและแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนหรือขั้นสูงในการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้
ELO5 บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยชีวภาพ เพื่อประดิษฐ์ คิดค้น และสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเชิงเลิก นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือประเทศชาติ
ELO6 ปฏิบัติคนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และรับผิดชอบในหน้าที่ของตน
ELO7 สื่อสารความรู้ทางเทคโนโลยชีวภาพ โดยใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO8 เผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการทางเทคโนโลยชีวาพในระดับนานาชาติ