1) ครู/อาจารย์ ในสาขาวิชาคติชนวิทยาหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาและวรรณคดี วัฒนธรรมศึกษา ปรัชญาและศาสนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
2) นักวิจัยหรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านวัฒนธรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระ
3) อาชีพอิสระ เช่น นักวิชาการอิสระ วิทยากรพิเศษ ที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรม ที่ปรึกษาองค์กร
ไลฟ์โค้ช (Life Coach) นักเขียน บล็อกเกอร์ เป็นต้น
PLO1 : อธิบายทฤษฎีและกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาคติชนวิทยา
PLO2 : สังเคราะห์ข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีสืบค้นและนำเสนอข้อมูลทางคติชนวิทยา
PLO3 : ประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการด้านคติชนวิทยาและให้ข้อเสนอแนะได้
PLO4 : พัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยบูรณาการเข้ากับศาสตร์ทางคติชนวิทยา
PLO5 : ปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม ทางวิชาการและการวิจัยตามมาตรฐานสากล
PLO6 : ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
(แสดงออกด้วยความเคารพในความหลากหลายและแตกต่างทางเชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศต้นกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือสิ่งอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตาม)
PLO7 : แสดงออกถึงภาวะผู้นำทางวิชาการด้านคติชนวิทยา
(ริเริ่มทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางคติชนวิทยา สามารถให้คำปรึกษาทางวิชาการด้านคติชนวิทยา กล้าอภิปรายและแสดงความเห็นทางวิชาการด้านคติชนวิทยา ตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ)