จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
35,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962749
E-mail: Agroindustry@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้มีความรู้ความสามารถ มีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัยหาองค์
ความรู้ใหม่พร้อมทั้งให้มีคุณธรรมและจริยธรรม และสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การอาหารไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะของประเทศ และเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นเพื่อทำให้หลักสูตรมีความ
ทันสมัย และสามารถผลิตบัณฑิตเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตตามขั้นตอนของกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
ปรัชญาของหลักสูตร
การสร้างบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์ริเริ่มสิ่งใหม่ สามารถทำวิจัยเชิงลึกและมีทักษะ
การวิจัย สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารกับศาสตร์อื่น เพื่อนำไปสู่
องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งสร้างบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม
ความสำคัญของหลักสูตร
ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนที่มีความรู้ระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับการ
พัฒนาประเทศ เป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่ง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีการอาหาร หลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์
ริเริ่มสิ่งใหม่ สามารถทำวิจัยเชิงลึกและมีทักษะการวิจัย สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีการอาหารกับศาสตร์อื่น เพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีการอาหารที่ได้มาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งสร้างบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม
เนื่องจากหลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรปรับปรุงซึ่งได้มีการเปิดสอนและผลิตบัณฑิตมาอย่าง
ต่อเนื่อง ซึ่งภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร ได้มีการลงทุนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่าง ๆ และสามารถใช้
ทรัพยากรร่วมกับหลักสูตรอื่น ๆ ที่เปิดสอนในคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมถึงสิ่งสนับสนุนกลางจากบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบกับประมาณการค่าใช้จ่าย
ในการผลิตดุษฎีบัณฑิต 66,600 บาท ต่อคนต่อปี ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าหากมีการผลิตผลงานวิจัยที่มีองค์ความรู้ใหม่ ที่สามารถตีพิมพ์ได้ในระดับนานาชาติ รวมถึงการมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมและ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีการอาหารสู่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้จากผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับ
ปริญญาเอก จะทำให้หลักสูตรมีความคุ้มทุนและมีความคุ้มค่าของหลักสูตร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 อาจารย์
2 นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ในภาครัฐหรือภาคเอกชน
3 พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
4 ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 เชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
ELO2 อธิบาย สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอดในการสร้างสรรค์ความรู้ ผลงาน หรือแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้
ELO3 วางแผนและดำเนินงานวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ELO4 แสดงภาวะความเป็นผู้นำสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง
ELO5 สื่อสาร ถ่ายทอดความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สู่ชุมชน สังคม ระดับชาติ/นานาชาติ