1.เภสัชกรในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น
2.เภสัชกรในหน่วยงาน/สถานประกอบการอื่นๆ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา บริษัทยา เครื่องสำอาง หรือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นต้น
3.ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ เภสัชกรประจำสถานประกอบการเภสัชกรรมชุมชน (ร้านยา)
1. เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิต
2. ปฏิบัติงานวิชาชีพสอดคล้องกับจรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
3. รอบรู้ในสาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
4. บริหารเวชภัณฑ์ในสถานบริการสุขภาพ และร้านยาได้อย่างเหมาะสม
5. ให้การบริการเภสัชปฐมภูมิ ทั้งแนะนำการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการแก้ปัญหาด้านยา จัดการปัญหาสาธารณสุข รวมทั้งดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพได้
6. สามารถวางแผน ป้องกัน และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ทั้งเฉพาะรายและเชิงระบบ
7. มีทักษะการวิจัย ในการคิด การทำ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
8. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง