คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Bachelor of Science Program in Computer Science


จำนวนรับเข้าศึกษา
80 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 15,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-963263
E-mail: wuttipongr@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    Good Logics and Good Coding

ปรัชญาของหลักสูตร
    วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้มนุษย์สามารถใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิตอลในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการมีโลกทัศน์ที่กว้าง มีภูมิปัญญายอดเยี่ยม มีการคิดที่เป็นระบบและมีเหตุผล สามารถเชื่อมโยงกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสของการแข่งขันในโลกยุคใหม่ นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
    การปรับปรุงหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และอยู่ในกรอบมาตรฐานองค์ความรู้ทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ของประเทศ (มคอ.1 สาขาคอมพิวเตอร์) ตลอดจนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้รากฐานที่สามารถต่อยอดไปยังการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเชิงลึก เพื่อตอบสนองระบบเศรษฐกิจและสังคมของโลกยุคใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและสถานการณ์โลก โดยมุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ที่มีวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล มีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ที่เป็นฐานรากของเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้กับเศรษฐกิจและสังคม และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจในโลกยุคใหม่ได้ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพในระบบเศรษฐกิจของประเทศและสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

8.1 นักวิชาการทางคอมพิวเตอร์

8.2 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์

8.3 โปรแกรมเมอร์

8.4 ผู้ติดตั้งและดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

8.5 ผู้ออกแบบ พัฒนา และจัดการระบบฐานข้อมูล

8.6 ผู้ทดสอบระบบ

8.7 นักวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์

8.8 ผู้ดูแลความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์

8.9 อาชีพอื่นที่ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1: วิเคราะห์โจทย์ปัญหาเพื่อระบุและกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม

ELO2: ออกแบบ พัฒนา และประเมินโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้

ELO3: อธิบายถึงจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง องค์กร และสังคม

ELO4: สื่อสารกับผู้ฟังจากหลากหลายกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ELO5: ประยุกต์ใช้อัลกอริทึม คณิตศาสตร์ หรือสารสนเทศ เพื่อออกแบบและสร้าง แบบจำลอง หรือระบบ หรือ วิธีการหาผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ELO6: เลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เฟรมเวิร์ก การบริการ หรือ ระบบจัดการข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนางานในแต่ละองค์ประกอบของระบบได้อย่างเหมาะสม

ELO7: ทำงานเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายของงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ELO8: สืบค้นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อการพัฒนาด้านวิชาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ELO9: เลือกใช้ วิธีการ เทคนิค และเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อการทำงานด้านการควบคุมระบบที่ผสมผสาน การบูรณาการระบบแบบต่อเนื่อง การจำลองเสมือน หรือการดำเนินการบนคลาวด์

ELO10: อธิบายความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และการประยุตก์ใช้ในแนวทางที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงด้านการโจมตีทางไซเบอร์