จำนวนรับเข้าศึกษา
30 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
16,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962302
E-mail: maths@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
-
ปรัชญาของหลักสูตร
1 ปรัชญาของหลักสูตร
วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์สมัยใหม่ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้มีประสิทธิภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อันจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศสูงขึ้นทัดเทียมกับอารยประเทศ
การประยุกต์ใช้วิทยาการข้อมูลอย่างมีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ และวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอที่จะวิเคราะห์แบบจำลองรวมถึงสร้างแบบจำลองใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานการณ์ หลักสูตรฯจึงเน้นปูพื้นฐานองค์ความรู้ทั้งในสาขาวิชาดังกล่าว และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บัณฑิตสามารถสามารถสร้างคุณค่าและนวัตกรรมจากข้อมูล รวมถึงประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2 ความสำคัญของหลักสูตร
เนื่องจากในปัจจุบันการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ตลอดจนข้อมูลที่ได้จากเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) รวมถึงคลังข้อมูลขององค์กรภาครัฐและเอกชน และแนวโน้มขนาดข้อมูลจะมีปริมาณมากขึ้น ข้อมูลมีความหลากหลาย เป็นได้ทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง รวมถึงข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวคือ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงเริ่มให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มีอยู่ แต่ไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการคาดการณ์และตัดสินใจสำหรับการบริหารจัดการในองค์กร อันเนื่องมาจากขาดบุคคลากรที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ได้ รู้เทคนิคต่าง ๆ ทั้งการจัดการกับปัญหาค่าเหมาะที่สุด (Optimization Problem) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Statistics) หรือการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) การทำความเข้าใจข้อมูลเชิงลึก พร้อมทั้งนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมจากข้อมูล เช่น การนำข้อมูลการซื้อสินค้าของลูกค้าผ่านการวิเคราะห์และทำให้เห็นรูปแบบการซื้อสินค้าเฉพาะบุคคล ส่งผลให้มีการนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เป็นต้น จากผลการวิจัยในบริบทของประเทศไทยนั้น พบว่ายังมีหลายปัจจัยที่ไม่สามารถทำได้เหมือนประเทศที่เจริญแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือคิดค้นเทคโนโลยีเอง โครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคมที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตยังไม่เสถียรและครอบคลุมทุกพื้นที่ ค่าแรงของแรงงานในประเทศไทยที่ยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการนำเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรมาทดแทนเพื่อให้เกิดความความคุ้มทุน แต่กลับพบว่าใช้แรงงานคนถูกกว่าการซื้อเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ที่สำคัญคือทักษะการทำงานของคนเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามา จำเป็นต้องมีการสร้างทักษะของคนเพื่อทำงานร่วมกันได้ ดังนั้นอาชีพนักวิทยาการข้อมูล และวิศวกรด้านข้อมูล นักวิเคราะห์ รวมถึงอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จำเป็นต้องมี จึงยังขาดแคลนอยู่ ซึ่งตัวเลขทั่วโลกพบว่าขาดแคลนถึง 30 ล้านคน
ในปี พ.ศ.2561 รัฐบาลได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยมียุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ที่เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลสมัยใหม่เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้ประกอบการและธุรกิจสมัยใหม่ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบไปจากในปัจจุบัน ดังนั้นศาสตร์ทางด้านวิทยาการข้อมูล การวิเคราะห์ และการนำไปใช้เชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์พร้อมทั้งนำเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลก่อให้เกิดนวัตกรรมข้อมูล เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาในโลกความจริง และยังสามารถเติบโตได้ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นต้น
นอกจากนี้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวิทยาการข้อมูลยังสามารถทำให้เกิดเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันที่ต้องทำเพื่อสร้างรายได้เพิ่มและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร ซึ่งในปัจจุบันบุคลากรทางด้านนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล/นักวิศวกรรมข้อมูล
2 อาชีพในหน่วยงานที่ต้องใช้ความรู้ หรือทักษะทางคณิตศาสตร์ สถิติ และคอมพิวเตอร์ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูล เจ้าหน้าที่ดูแลระบบข้อมูล นักวางแผนการเงิน หรือ นักวิเคราะห์สำหรับอุตสาหกรรมประกันภัย เป็นต้น
3 ครู อาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิทยาการคำนวนในสถาบันการศึกษาของภาครัฐหรือเอกชน
4 อาชีพอิสระ ผู้ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและองค์กรเป็นที่ประจักษ์ (ผลการเรียนรู้ทั่วไป)
ELO2 ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศได้ (ผลการเรียนรู้ทั่วไป)
ELO3 แสดงออกซึ่งทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากความรู้ความสามารถทางวิชาการ (ผลการเรียนรู้ทั่วไป)
ELO4 ระบุความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาการข้อมูลและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO5 อ่านหนังสือหรือบทความทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาการข้อมูลได้อย่างเข้าใจ (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO6 เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาความรู้ใหม่ด้วยตนเอง มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ผลการเรียนรู้ทั่วไป)
ELO7 อธิบายเนื้อหาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการข้อมูลได้อย่างถูกต้อง (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO8 พัฒนาโปรแกรมหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ และจัดการกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO9 อธิบายรวมถึงนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO10 ประยุกต์ใช้ตัวแบบสำหรับจัดการข้อมูลได้เหมาะสม พร้อมทั้งระบุเหตุผลเชิงลึกในการเลือกตัวแบบได้ (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)
ELO11 สร้างตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน (ผลการเรียนรู้เฉพาะ)