คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวัดและระบบอัจฉริยะ

Bachelor of Science Program in Measurement Technology and Smart Systems


จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: -
E-mail: somchaij@nu.ac.th (ผู้ประสานงานหลักสูตร)
จุดเด่นของหลักสูตร
    เป็นสาขาวิชาที่เป็นการบูรณาการระหว่างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดกับองค์ความรู้ด้านไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อการปฏิบัติงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเฝ้าตรวจวัดและควบคุมแบบฉลาด

ปรัชญาของหลักสูตร
    มุ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์และนวัตกรด้านการวัดและระบบอัจฉริยะที่มีความรอบรู้ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ได้อย่างเหมาะสม มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เป็นอย่างดีรวมทั้งให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอกนิกส์อัจฉริยะของประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวัดและระบบอัจฉริยะเป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นผลิตนิสิตที่มีความรู้ความสามารถในศาสตร์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการวัด ระบบไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์-เทคโนโลยีสารสนเทศ (วิทยาการข้อมูล ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง) และการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะด้านต่างๆ ที่สำคัญของประเทศ โดยเน้นการเรียนรู้ตั้งแต่เซ็นเซอร์และกระบวนการวัดเบื้องต้น (ต้นน้ำ) กระบวนการเชื่อมต่อการวัดกับระบบอัจฉริยะ (กลางน้ำ) และการประยุกต์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานรอบด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ปลายน้ำ) ซึ่งสอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งประกาศในปี พ.ศ. 2561 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งได้วางกรอบทิศทางและเป้าหมายไว้ ได้แก่ การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) บนพื้นฐานของการพัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม และแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. นักวิชาการ/ผู้ปฏิบัติการ/นักพัฒนาเทคโนโลยีการวัดและระบบอัจฉริยะด้านการแพทย์ 

การเกษตรและพลังงาน

2. เจ้าหน้าที่สอบเทียบเครื่องมือวัดหรือนักมาตรวิทยา

3. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอัจฉริยะในอาคารหรือโรงงาน นักกำกับมาตรฐานด้านพลังงาน

4. ผู้ประกอบการผลิต/จำหน่ายเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและระบบอัจฉริยะ

5. ผู้ประกอบการอิสระที่มีความต้องการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์กับกิจการของตนเอง



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และองค์กรเป็นที่ประจักษ์ ELO2 ปฏิบัติงานโดยยึดจรรยาบรรณนักวิทยาศาสตร์ 

ELO3 ทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ 

ELO4 สื่อสาร ถ่ายทอดข้อมูล หรือประชาสัมพันธ์ผลงานต่างๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ 

ELO5 สืบค้นข้อมูลและศึกษาเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ด้วยตัวเอง

ELO6 อธิบายหลักการและทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการวัดและระบบอัจฉริยะได้ 

ELO7 ใช้งานและดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือวัดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 

ELO8 วิเคราะห์ อภิปรายผล และนำเสนอผลการวัดทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ELO9 นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการวัดและระบบอัจฉริยะ สำหรับงานด้าน อุตสาหกรรมอัจฉริยะและมาตรวิทยา หรือด้านเครื่องมือแพทย์และสิ่งอำนวยความสะดวกหรือด้านเทคโนโลยีทางการเกษตร หรือด้านการอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน