คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
80 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964230
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    (1) นิสิตมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การทำงานก่อนจบการศึกษา จากรายวิชา 302400 การเตรียมความพร้อมสู่วิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งเน้นการถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้เฉพาะทางที่เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม นอกเหนือจากองค์ความรู้ในห้องเรียน (2) มี 2 แผนการศึกษาย่อยสำหรับนิสิตทั่วไป และนิสิตที่มีความพร้อมในการฝึกงานแบบสหกิจศึกษา (3) หลักสูตรมีองค์ความรู้ครบตามระเบียบสภาวิศวกร บัณฑิตสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตามข้อกำหนดของสภาวิศวกร

ปรัชญาของหลักสูตร
    1. ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นหลักสูตรที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ในศาสตร์แห่งวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกล สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และทักษะต่างๆ ในการปฏิบัติงานจริงร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีจรรยาบรรณและจริยธรรม (Practical Engineer) มีความใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีทักษะด้านการวิจัย (Pursue Advanced Education and Research)รวมถึงมีพื้นฐานความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2. ความสำคัญ วิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลเป็นสาขาหนึ่งที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของโลก เราจะพบว่าผลิตภัณฑ์เกือบทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนมีความเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรกลต่างๆ รวมไปถึงการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ว่าจะใช้พลังงานจากน้ำ กระแสลม แสงอาทิตย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ อุตสาหกรรมเกษตร การเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร แม้แต่ด้านการแพทย์ การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเครื่องกลจึงมีผลกระทบต่อคนหมู่มาก ด้วยเหตุนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในสาขาวิชาวิศวกรรมควบคุมของสภาวิศวกร ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ผลิตวิศวกรเครื่องกลที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงานมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. วิศวกรเครื่องกลในภาคเอกชน 

2. วิศวกรเครื่องกลในภาครัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจต่างๆ

3. ผู้ประกอบการอิสระ 

4. นักวิจัยด้านวิศวกรรมเครื่องกลในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน

5. นักวิชาการในสถาบันการศึกษา


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 สามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล โดยใช้หลักการทางวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์

ELO2 สามารถใช้ความรู้ในการออกแบบงานทางวิศวกรรมเครื่องกล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์

ELO3 สามารถสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ต่อผู้รับสารที่หลากหลาย

ELO4 ปฏิบัติงานโดยตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมต่อตนเอง ผู้ว่าจ้าง ผู้ร่วมวิชาชีพ และต่อสังคม

ELO5 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความขยันหมั่นเพียรและมีจิตสาธารณะ

ELO6 สามารถพัฒนาออกแบบการทดลอง วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง โดยใช้หลักการทางวิศวกรรมเพื่อหาผลลัพธ์ที่ต้องการได้

ELO7 สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง