1. มีความทันสมัยและมีความเป็นสากล หลักสูตรออกแบบโดยอิง Skill Framework for the Information Age version 8 (SFIA 8) และ ACM/IEEE Computing Curricula 2020
2. เน้นการปฏิบัติงานจริงตลอดหลักสูตรผ่านวิชาประสบการณ์ภาคสนาม วิชาการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน และวิชาฝึกงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. หลักสูตรให้ความสำคัญกับทักษะเสริมการทำงาน (Soft skils) ทั้งการสำรวจและบริหารจัดการตนเอง การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีมทางวิศวกรรม การทำงานร่วมกับชุมชน ความเป็นมืออาชีพและจรรยาบรรณ รวมไปถึงการเป็นผู้ประกอบการ
4. มีการจัดการเรียนการสอนทุกวิชาแบบ P3BL (Project Based
Learning / Problem Based Learning / Professional Based Learning)
5. สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร
6. หลักสูตรมีทางเลือกในการพัฒนาเชิงลึกถึง 3 ทางเลือก คือ ทางเลือกปกติเน้นการเรียนในวิชาเลือกเพิ่มเติม ทางเลือกเน้นการปฏิบัติงานโดนปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ และทางเลือกเน้นการวิจัยสำหรับการเตรียมตัวในการศึกษาขั้นสูงต่อไป
1. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์
- วิศวกรปัญญาประดิษฐ์
- นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
- วิศวกรข้อมูล
- นักวิเคราะห์ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์
- นักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจ
2. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านเทคโนโลยีฝังตัวและหุ่นยนต์
- วิศวกรซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีฝังตัว
- วิศวกรพัฒนาหุ่นยนต์
- นักวิทยาศาสตร์พัฒนาหุ่นยนต์
3. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านการประมวลผลสมัยใหม่
- วิศวกรระบบประมวลผลระบบคลาวด์
- วิศวกรระบบบล็อกเชน
- นักพัฒนาบล็อกเชน
- วิศวกรด้านความปลอดภัย
- วิศวกรระบบและความปลอดภัย
- วิศวกรระบบเครือข่าย
4. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ใหม่ เช่น การประมวลผลภาพกราฟฟิก ระบบความจริงเสมือน
- นักพัฒนาเกม
- วิศวกรการประมวลผลภาพกราฟฟิก
- นักออกแบบเกม
- นักพัฒนาการประมวลผลภาพกราฟฟิก
5. อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโปรแกรม และอาชีพอื่น ๆ
- นักเขียนโปรแกรม หรือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
- นักทดสอบซอฟต์แวร์
- ผู้ดูแลระบบ ข่ายงาน และเครื่องบริการ
- นักพัฒนาเว็บไซต์
- ผู้จัดการซอฟต์แวร์
- ผู้จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์
- ครู อาจารย์ หรือ นักวิจัย
- เจ้าของกิจการ
ELO 1. วินิจฉัยและกำหนดแนวการปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทโดยคำนึงถึงประเด็นด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ ค่านิยมพื้นฐาน สังคม สุขภาพ ความปลอดภัย กฎหมาย วัฒนธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ELO 2. แสดงความมีวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
ELO 3. ปฏิบัติงานอย่างขยันหมั่นเพียร กล้าหาญ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีจิตสาธารณะ ตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย
ELO 4. อธิบายแนวคิด ความก้าวหน้า เทคโนโลยี และผลกระทบ ทางด้านคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ELO 5. ประเมินผลกระทบของงานด้านคอมพิวเตอร์ต่อโลก สังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์
ELO 6. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้ชีวิต การดูแลตนเอง การดำรงตนอย่างมีความสุข และการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ELO 7. วิเคราะห์และประเมินองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย ความมั่นคง ฯลฯ)
ELO 8. ทวนสอบและตรวจสอบความสมเหตุสมผลของประเด็นปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด ข้อจำกัดและวิธีแก้ปัญหา
ELO 9. ออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง และบำรุงรักษา องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย ฯลฯ) ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด โดยพิจารณาถึงบริบทและข้อจำกัด
ELO 10. บริหารโครงการโดยคำนึงถึงผลกระทบของปัจจัยต่าง ๆ (เช่น ความเสี่ยง ทีม) และผลที่อาจจะตามมา จากมุมมองต่าง ๆ (เช่น จุดยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เศรษฐศาสตร์ แนวคิดของการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม ฯลฯ)
ELO 11. พิจารณาเงื่อนไขทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง คุณธรรม จริยธรรม สุขอนามัย ความปลอดภัย และการพัฒนาที่ยั่งยืนในการแก้ปัญหาด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ELO 12. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเหมาะสมในฐานะสมาชิกทีมหรือผู้นำ
ELO 13. ประเมินตนเองในมิติต่าง ๆ เพื่อจะได้กำหนดทิศทางที่เหมาะสมในพัฒนาตนเอง
ELO 14. ค้นคว้า รวบรวม ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหา จากการศึกษาอย่างมีวิจารณญาณ
ELO 15. สื่อสารได้เหมาะสมตามบริบท