คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

Bachelor of Engineering Program in Chemical Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
50 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964255
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยอันสอดคล้องตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ บทบาทหน้าที่มหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ รวมถึงการดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศ เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสากลโลก โดยได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : Hed ไว้ 5 ด้านหลัก อันสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ อันได้แก่ (1) คุณธรรม จริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องตามการพัฒนาทักษะของการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบด้วย สาระวิชา ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีและทักษะชีวิตและอาชีพ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่กำหนดเหล่านี้ได้ถูกเห็นความสำคัญและถูกกำหนดและบรรจุไว้ในหลักปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยนเรศวร (www.nu.ac.th) ดังนี้ คือ “มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอุดมการณ์ มุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้พระราชทานความเป็นไท ความสงบ ความผาสุก แก่ปวงชนชาวไทยมาแล้วในอดีต ดังนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานให้สังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา โดยค้นคว้าและสะสมองค์ความรู้เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุข มุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี เพื่อเป็นมรดกของชาติ สืบไป (ปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวร)” “…มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง เป็นศูนย์รวมแหล่งวิทยากรต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะดำรงความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล ในอันที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อเกื้อหนุนต่อการพัฒนาประเทศ และสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้แบบยั่งยืน มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพในทุกสรรพวิทยาการ มีความเป็นสากลทั้งในเชิงเทคโนโลยีและภาษาที่จำเป็นรวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ อีกทั้ง เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจิตใจร่วมพัฒนา (ปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวร)” คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะฯ หนึ่งที่ยึดมั่นในการตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของพันธกิจมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ 4 ด้าน อันได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และปรัชญาฯ (www.eng.nu.ac.th) ดังนี้ “สร้างวิศวกรให้มีคุณภาพและมีคุณธรรม พร้อมพัฒนา และส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการเชิงบูรณาการเพื่อให้บัณฑิตสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและประเทศที่ยั่งยืนด้วยการบริหารงานยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (วิสัยทัศน์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร)” “มุ่ง - มั่นพัฒนาวิชาการ สู่ - การผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม ความ - รู้สู่สังคมไทย เป็น - ผู้นำด้านวิจัยและเทคโนโลยี เลิศ – ล้ำค่าความเป็นไทยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม (ปรัชญาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร) ” ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ ปรัชญา และพันธกิจ ที่ได้กำหนดไว้นี้ ทางหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ ได้กำหนดปรัชญาของหลักสูตรฯ ให้ชัดเจนและสอดคล้องเป็นไปตามบัญญัติเจ็ดประการที่บัณฑิตพึงประสงค์ของหลักสูตรฯ ที่พึงมีตามแนวทางการเสนอแนะของศาสตราจารย์ นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล (ราชบัณฑิต) ที่ได้เสนอไว้ในการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย” ในวันที่ 24 กันยายน 2551 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ โดยสิ่งที่บัณฑิตพีงต้องมี คือ คุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับของสากล ความประพฤติตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม การยึดถือและรักษาวัฒนธรรมไทยอันดีงาม การเรียนรู้ตลอดชีพ การเป็นต้นแบบที่ดีและผู้นำด้านวิชาการของสังคม การยึดถือในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และความรู้และจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 2.ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี เป็นหลักสูตรที่มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามบทบัญญัติ 7 ประการ คือ 1) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการของผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความประพฤติที่ดีที่สอดคล้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม รวมถึงยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความตระหนักในคุณค่าและยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมและอารยธรรมสากลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทยและมีทักษะอันพึงประสงค์ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต การให้เกียรติผู้อื่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เป็นต้น 4) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีพ สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ สามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งในศาสตร์ของตนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ที่ได้มาจากการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม สามารถอภิปรายด้วยหลักเหตุและผลที่ยอมรับได้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา จนกระทั่งเข้าใจในโจทย์ปัญหาแล้วสามารถนำมาค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสมและมีเหตุผล หรือนำหลักการทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในงานได้ 5) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้เป็นต้นแบบที่ดีหรือแบบอย่างที่ดีในสังคมในการเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับสังคม รวมถึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ 6) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้ยึดมั่นและมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7) การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจและการพาณิชย์ การเสริมสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ อันจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนเองต่อไปในอนาคต 1.2 ความสำคัญ ในการปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนี้ ได้มีการกำหนดปรัชญาของหลักสูตรฯ ใหม่ เพื่อให้เห็นการผลิตวิศวกรเคมีที่เป็นรูปธรรมและเกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยแสดงให้เห็นถึงความมีคุณภาพของบัณฑิตวิศวกรเคมีที่มีทั้งความเก่งในเชิงวิชาการที่ตนเองเรียนมาในสาขาวิศวกรรมเคมี และพร้อมทั้งมีคุณสมบัติอื่นที่เพียบพร้อมที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และทักษะที่พึงมีในการประกอบวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 อันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสากลโลก ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในครั้งนี้ต้องการสร้างอัตลักษณ์นิสิตวิศวกรเคมี มหาวิทยาลัยนเรศวรให้ครบถ้วน คือเป็นทั้ง คนดี คนเก่ง คนมีวินัย และคนที่ภูมิใจในชาติ และได้ยึดถือปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้หลักสูตรมีความเป็นสากล (Internationalization) มีการสร้างและใช้นวัตกรรม (Innovation) ทั้งในด้านความรู้และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมในการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตในอนาคต และมีการบูรณาการ (Integration) ศาสตร์ด้านวิศวกรรมเคมีกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเป็นบัณฑิตที่มีความถึงพร้อมและยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรม (Integrity) ซึ่งปรัชญาหลักสูตรใหม่ที่ได้บัญญัติไว้ 7 ประการนี้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งสามารถแสดงได้ดังตารางข้างล่างนี้ ปรัชญา: บัญญัติ 7 ประการคุณลักษณะบัณฑิตวิศวกรเคมี ม.นเรศวร ที่พึงประสงค์ อัตลักษณ์นิสิต นโยบายมหาวิทยาลัย 1. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการของผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ คนเก่ง Internationalization 2. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความประพฤติที่ดีที่สอดคล้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม รวมถึงยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ คนดี, คนภูมิใจในชาติ Integrity 3. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความตระหนักในคุณค่าและยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมและอารยธรรมสากลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทยและมีทักษะอันพึงประสงค์ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต การให้เกียรติผู้อื่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เป็นต้น คนมีวินัย, คนภูมิใจในชาติ Internationalization, Integrity 4. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีพ สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ สามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งในศาสตร์ของตนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ที่ได้มาจากการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม สามารถอภิปรายด้วยหลักเหตุและผลที่ยอมรับได้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา จนกระทั่งเข้าใจในโจทย์ปัญหาแล้วสามารถนำมาค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสมและมีเหตุผล หรือนำหลักการทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในงานได้ คนเก่ง Internationalization, Innovation, Integration 5. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้เป็นต้นแบบที่ดีหรือแบบอย่างที่ดีในสังคมในการเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับสังคม รวมถึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ต่างๆ ในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ คนดี, คนเก่ง Integrity, Innovation, Integration, 6. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้ยึดมั่นและมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คนดี, คนภูมิใจในชาติ Integrity, 7. การผลิตบัณฑิตวิศวกรเคมีให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจและการพาณิชย์ การเสริมสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ อันจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนเองต่อไปในอนาคต คนเก่ง Integration นอกจากนี้ ในหลักสูตรฯ ได้ยึดถือแนวทางในการผลิตลักษณะบัณฑิตวิศวกรที่พึงประสงค์สำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามประกาศสภาวิศวกร ที่ 92/2563 ที่กำหนดลักษณะพึงประสงค์บัณฑิตตามข้อกำหนดสากล อันได้แก่ ข้อตกลง Washington Accord และ Sydney Accord ที่กำหนดลักษณะสมบัติ (Attributes) ของบัณฑิตวิศวกรไว้ 12 หัวข้อ คือ ความรู้ด้านวิศวกรรม (Engineering Knowledge) การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) การออกแบบ/การพัฒนาหาคำตอบของปัญหา (Design/Development of Solutions) การสืบค้น (Investigation) การใช้เครื่องมือที่ทันสมัย (Modern Tool Usage) วิศวกรกับสังคม (The Engineer and Society) สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Environment and Sustainability) จรรณยาบรรณวิชาชีพ (Ethics) การสื่อสาร (Communication) การบริหารโครงการและการเงินการลงทุน (Project Management and Finance) และการเรียนรู้ตลอดชีพ (Lifelong Learning) ดังนั้น ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในครั้งนี้จึงได้นำแนวทางต่างๆ ที่ได้กำหนดนี้ มาเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรฯ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และการจัดโครงสร้างรายวิชาต่างๆ ให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตรฯ ที่ต้องการทความสำคัญและถูกกำหนดและบรรจุไว้ในหลักปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยนเรศวร (www.nu.ac.th) ดังนี้ คือ 3.วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเคมีและเพื่อประโยชน์ในการรองรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมเคมีได้อย่างเหมาะสม” (เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในการรับรองปริญญาฯ ของสภาวิศวกรแห่งประเทศไทย) ดังต่อไปนี้ 1. มีความสามารถในการนำความรู้และทักษะทางวิศวกรรมเคมีไปแก้ปัญหาในกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีและที่เกี่ยวข้อง 2. สามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะทางวิศวกรรมเคมีในการออกแบบกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีโดยคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ความปลอดภัย รวมทั้งมีจรรยาบรรณและสำนึกรับผิดชอบต่อวิชาชีพ 3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ความสามารถด้านการสื่อสาร ความเป็นผู้นำ และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 4. ตระหนักและสามารถเรียนรู้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ และมีทักษะด้านการจัดการเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นผู้ประกอบการ
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. พนักงานในสถานประกอบการตำแหน่งวิศวกร หรือผู้ดูแลกระบวนการที่เกี่ยวข้อง

2. เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ

3. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษา

4. นักวิจัยและนักวิชาการในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน

5. ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกกับกระบวนการทางวิศวกรรมเคมี

6. อาชีพอื่นๆที่อาศัยความรู้ทางวิศวกรรมเคมี พื้นฐานวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในองค์กรภาครัฐหรือเอกชน



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1: ความรู้ด้านวิศวกรรม สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม เพื่อการแก้ไขและหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมเคมีที่ซับซ้อน 

ELO2: การวิเคราะห์ปัญหา สามารถระบุ ตั้งสมการ วิจัย สืบค้น และวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมเคมี เพื่อให้ได้ข้อสรุปของปัญหา โดยใช้ หลักการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิทยาการทางวิศวกรรมศาสตร์

ELO3: การออกแบบ/การพัฒนาหาคำตอบของปัญหา สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมเคมี และสามารถออกแบบระบบ ชิ้นงานหรือกระบวนการ ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับข้อพิจารณาทางด้านสาธารณสุข ความปลอดภัย วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม

ELO4: การสืบค้น สามารถดำเนินการสืบค้นเพื่อหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมเคมี โดยใช้ความรู้จากงานวิจัยและวิธีการวิจัย รวมถึง การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ และการแปลความหมายของข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลสรุปที่เชื่อถือได้

ELO5: การใช้เครื่องมือทันสมัย สามารถสร้าง เลือกหรือประยุกต์ใช้ เทคนิค วิธีการ เครื่องมือทันสมัยทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เหมาะสมอย่างเข้าใจถึงข้อจำกัดของเครื่องมือต่างๆ

ELO6: วิศวกรกับสังคม สามารถใช้เหตุและผล จากหลักการและความรู้ที่ได้รับ มาประเมินประเด็นและผลกระทบต่างๆทางสังคม ชีวอนามัย ความปลอดภัย กฎหมายและวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมเคมีได้

ELO7: สิ่งเเวดล้อมเเละความยั่งยืน สามารถอธิบายผลกระทบของคำตอบของปัญหางานทางวิศวกรรมเคมีในบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม

ELO8: จรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถอธิบายและประยุกต์ใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพทางวิศวกรรมเคมี

ELO9: การทำงานเดี่ยวเเละทำงานเป็นทีม สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการทำงานเดี่ยว และการทำงานในฐานะผู้ร่วมทีมหรือผู้นำทีมที่มีความหลากหลายของสาขาวิชาชีพ

ELO10: การสื่อสาร สามารถสื่อสารงานกับกลุ่มผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมและสังคมโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งในด้านการเขียน การเตรียมเอกสาร และการนำเสนอ 

ELO11: การบริหารโครงการเเละการเงินการลงทุน สามารถประยุกต์ใช้หลักการการบริหารกับงานด้านวิศวกรรมเคมี ในฐานะผู้ร่วมทีมและผู้นำทีม เพื่อบริหารโครงการทางวิศวกรรมเคมีที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชาชีพ

ELO12: การเรียนรู้ตลอดชีพ สามารถค้นคว้าในประเด็นที่สนใจอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้พัฒนาตนเองในวิชาชีพวิศวกรรมเคมี