จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
15,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962433
E-mail: acadedu@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
นิสิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพ
1. ข้าราชการครู
2. ครูในสังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน
3. ครูอัตราจ้างในสถานศึกษาต่าง ๆ
4. นักวิชาการศึกษา
ปรัชญาของหลักสูตร
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเชื่อว่าการพัฒนาครูที่มีคุณภาพจะต้องเปี่ยมด้วยคุณธรรม ความรู้ มีความเป็นผู้นาทางปัญญา มีความเป็นกัลยาณมิตร มีความสามารถในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีและเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยอย่างสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม จึงมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางด้านภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง และมีความเข้มแข็งทางวิชาชีพครู สามารถผสานบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อนาไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ก่อเกิดความเจริญงอกงามอย่างสมบูรณ์สามารถดารงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ภายใต้กรอบของคุณธรรมและจริยธรรม หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จึงมุ่งพัฒนาบัณฑิตผู้มีคุณธรรม มีความรู้ ความสามารถด้านองค์ความรู้ภาษาไทย มีทักษะการสอนภาษาไทยตามแนวปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งความสามารถในการวิจัย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย
ความสำคัญของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม จิตวิญญาณความเป็นครู และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม
2. มีความรอบรู้ในหลักการแนวคิด ทฤษฎี เนื้อหา กระบวนการ และความก้าวหน้าในศาสตร์วิชาชีพครู และสาขาวิชาภาษาไทย อย่างลึกซึ้งและเป็นระบบ
3. เป็นผู้มีความสามารถสูงในการบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีความตระหนักถึงคุณค่าของการใช้วิถีทางปัญญาในการดารงชีวิต การประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหา
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองและผู้อื่นในการทางานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร และในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
5. สามารถใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน เทคโนโลยีสารสนเทศ และคณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การเก็บรวบรวมและนาเสนอข้อมูล และการแก้ปัญหาในการดารงชีวิตและ การวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และเชี่ยวชาญในทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมวิชาภาษาไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1. ข้าราชการครู
2. ครูในสังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน
3. ครูอัตราจ้างในสถานศึกษาต่าง ๆ
4. นักวิชาการศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
K: ความรู้หลักการแนวคิด ทฤษฎี เนื้อหา กระบวนการ ความก้าวหน้าในศาสตร์วิชาชีพครูและสาขาวิชาภาษาไทย การบูรณาการข้ามศาสตร์
S: สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในทักษะการจัดการเรียนรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาภาษาไทย
A: มีคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความเป็นครู และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม