คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา

Bachelor of Science Program in Microbiology


จำนวนรับเข้าศึกษา
100 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 20,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964703
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -แนวทางการบริหารจัดการรายวิชาให้สอดคล้องกับจำนวนผู้เรียนเพื่อให้เกิดความคุ้มทุน ดำเนินการโดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริง -การสร้างเสริมสมรรถนะที่เข้มแข็งให้กับบัณฑิตเพื่อพร้อมในการปฏิบัติงานด้านจุลชีววิทยา เช่น ใบประกาศนียบัตร (1) ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558) (2) ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานระดับชาติและสากล เช่น มผช. ISO/IEC17025:2017 (ทักษะทางวิชาชีพ) (3) ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค (มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ) -มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ

ปรัชญาของหลักสูตร
    มีองค์ความรู้และทักษะทางจุลชีววิทยาที่ทันสมัย มาตรฐานการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ การสร้างผลงานทางวิชาการหรือนวัตกรรม มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นกัลยาณมิตร สามารถขับเคลื่อนความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
    จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ที่มีหลักการสำคัญประการหนึ่งของแผนพัฒนาฯ คือ ให้ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม โดยมียุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเน้นให้มีการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพมนุษย์เพื่อเตรียมคนในสังคมไทยให้มีทักษะ ในการดำรงชีวิตสำหรับโลกศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีตลอดช่วงชีวิต ยิ่งกว่านั้น มนุษย์ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกอยู่ตลอดเวลาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การระบาดใหญ่ของโรคติดต่อและโรคติดต่ออันตราย ปัญหาเชื้อดื้อยา ปัญหาความมั่นคงทางด้านพลังงานและอาหาร ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ จึงเป็นความท้าทายของมนุษย์ในการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านต่าง ๆ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจุลินทรีย์ การควบคุมและการนำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านอาหาร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม การเกษตร พลังงาน การแพทย์ นวัตกรรมเทคโนโลยี และพัฒนาไปสู่การเป็นเจ้าของกิจการ (Smart Enterprises และ Start-ups) ที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งผสมผสานกับศาสตร์ด้านอื่น ๆ เพื่อให้มีความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วมาก
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. นักวิทยาศาสตร์/นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

2. นักวิชาการ เช่น นักวิชาการสุขาภิบาล นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อม

3. เจ้าหน้าที่ผลิต/ควบคุมคุณภาพการผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง

4. ครู/อาจารย์ โดยต้องผ่านการอบรมตามวิชาชีพ เช่น โรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

5. นักวิจัย/ผู้ช่วยนักวิจัย

6. ผู้แทนฝ่ายขายวัสดุ/อุปกรณ์วิทยาศาสตร์และอื่น ๆ 

7. ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา

8. อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

9. ศึกษาต่อระดับบัณทิตศึกษา สาขาจุลชีววิทยาหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 แสดงให้เห็นถึงความมีวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความซื่อสัตย์และสุจริต มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตและเห็นคุณค่าในความเป็นไทย 

ELO2 อธิบายหลักการ ทฤษฎีทางจุลชีววิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ ครบถ้วนและทันสมัย 

ELO3 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางจุลชีววิทยาเพื่อวางแผน บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง 

ELO4 ทำการทดลองโดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานด้านจุลชีววิทยาได้อย่างเหมาะสม 

ELO5 คิดเชิงวิพากษ์วิเคราะห์ เพื่อวิจารณ์และเปรียบเทียบข้อมูลทางจุลชีววิทยาและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องที่รับมาได้อย่างมีเหตุผล 

ELO6 ทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ตามบทบาทและหน้าที่อย่างเหมาะสมในลักษณะการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล 

ELO7 แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 

ELO8 ประยุกต์ใช้เทคนิคพื้นฐานทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านจุลชีววิทยาอย่างเหมาะสม 

ELO9 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมายและนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้อง 

ELO10 สื่อสารด้วยทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อวิเคราะห์ สรุปประเด็นเนื้อหาและนำเสนอผลงานได้