จุดเด่นของหลักสูตร
การจัดการศึกษาของหลักสูตรจะเน้นการจัดการเรียนการสอนดังนี้
Internationalization
- มีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นภาษาอังกฤษ มีการปรับบางรายวิชาเป็นการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ
- มีวิทยากรที่มาจากหลากหลายประเทศในการมาเป็นอาจารย์พิเศษและอาจารย์ผู้สอน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตได้มีโอกาสเลือกเรียนภาษาที่ 4 โดย ให้นิสิตเลือกเรียนในกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป
Integration
- ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามนโยบายของคณะและมหาวิทยาลัยทางด้าน Project Based Learning, Problem Based Learning, Professional Based Learning และ Research Based Learning
Innovation
- ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เกิดนวัตกรรม มีการเพิ่มรายวิชาทางด้านการสร้างนวัตกรรม การเป็นผู้ประกอบการ และส่งเสริมมีการบูรณาการข้ามศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ มาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ ธุรกิจและกฏหมาย เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องหรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรมีการกำกับมาตรฐานให้เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework: NQF) ตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายในการนำประเทศเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” มีการพัฒนา พึ่งพาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตามที่องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เข้าถึงการศึกษาทุกระดับรวมถึงมหาวิทยาลัย การพัฒนากำลังคนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับโลก ในศตวรรษที่ 21 ใน 4 มิติ คือ 1) เป็นคนไทยที่มีความรู้ ทักษะ และ ความสามารถที่สอดรับกับโลกในศตวรรษที่ 21 2) เป็นคนไทยที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคม 3) เป็นคนไทยที่มีอัตลักษณ์ความเป็นไทยสามารถยืนอย่างมีศักดิ์ศรีในเวทีสากล และ 4) เป็นดิจิทัลไทยเพื่อสอดรับกับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการกำกับมาตรฐานคุณภาพและการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1. นักวิจัย หรือ นักวิทยาศาสตร์
2. นักวิชาการ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
3. พนักงานธุรกิจวิทยาศาสตร์การแพทย์
4. ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
5. ผู้ประกอบการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
6. ผู้ช่วยนักวิเคราะห์แผนการวิจัย
7. ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการวิจัย
8. นักธุรกิจดิจิตอลด้านสุขภาพ
9. นักออกแบบธุรกิจสุขภาพ (ที่ปรึกษาบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
1. มีความรู้และทักษะที่เหมาะสมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ELO3, ELO5
2. สามารถบูรณาการความรู้พื้นฐาน สู่งานวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชุมชน สังคม และต่อยอดความรู้เชิงธุรกิจและกฏหมาย เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างเหมาะสม ELO4, ELO7
3. เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม สามารถทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ ปรับตัวเข้ากับสังคมต่างวัฒนธรรม และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ELO1, ELO2, ELO8
4. มีทักษะการสื่อสารและการนำเสนอผลงานด้วยภาษาอังกฤษ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีความสามารถในการคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ELO9
5. มีความรู้พื้นฐานด้านการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ ELO6