คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล

Bachelor of Science Program in Biochemistry and Molecular Biology


จำนวนรับเข้าศึกษา
40 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 20,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964704
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    1.มีความรู้ทางด้านชีวเคมีควบคู่กับชีววิทยาโมเลกุล 2.มีทักษะทางห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูง 3.มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั่วไป

ปรัชญาของหลักสูตร
    ผลิตบัณฑิตที่สามารถบูรณาการความรู้พื้นฐานทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลเข้ากับ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ อาหาร อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมสมัยใหม่ เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพ ศึกษาต่อ และสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ด้วยตนเอง
ความสำคัญของหลักสูตร
    ในสถานการณ์ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาทางสังคมและ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงตามพลวัตของการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิตอล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ด้านบวกและด้านลบต่อวิถีชีวิต สภาพสังคม สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมที่จะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ตามความก้าวหน้าทางชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล การคิดค้นยาที่จำเพาะต่อสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ ที่ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยเหตุนี้ บุคลากรทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุลที่มีคุณลักษณะที่มีความรู้ ทักษะในการประยุกต์ใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม จะเป็นหนึ่งในกลไกการรักษาสมดุลของสังคมและวัฒนธรรม ให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นให้นิสิตมีความรู้ เกิด ทักษะ มีความเชี่ยวชาญทางด้านชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ประกอบการและสร้างนวัฒกรรมเชิงพาณิชย์ด้วยตนเอง
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1.ผู้ช่วยวิจัยในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน

2.นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน

3.ผู้แทนจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์

4.เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D) และควบคุมคุณภาพ (QC)

5.ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 

       1.1 มีความรับผิดชอบ กล้าหาญ  เสียสละ  อดทน  ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ และทำกิจกรรมที่มุ่งสู่ความสำเร็จของงาน และมีจิตสาธารณะ 

       1.2 มีจรรยาบรรณในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ/จรรยาบรรณทางวิชาชีพ และแสดงออกอย่างมีคุณธรรม  จริยธรรม

       1.3 มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต  บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       1.4 ตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย

2. ด้านความรู้

       2.1 มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางเป็นระบบ และรู้หลักการ ทฤษฎีในศาสตร์ที่  เกี่ยวข้องตระหนักถึงธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับวิชาการ/วิชาชีพที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์

       2.2 มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา งานวิจัยในปัจจุบันที่

      เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ 

       2.3 มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง  มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ

สถานการณ์โลก ทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ สังคมและวัฒนธรรม และเห็นคุณค่าของธรรมชาติ


3. ด้านทักษะทางปัญญา

           3.1 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง  

           3.2 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจในองค์ความรู้เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง จากแหล่งข้อมูลที่ 

                หลากหลายในการแก้ไขปัญหา

           3.3 สามารถเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยคำนึงถึงความรู้ภาคทฤษฎี 

                ภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจ

           3.4 มีวิจารณญาณคิดแบบองค์รวม โดยสามารถเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างมนุษยศาสตร์ 

                สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ได้ และคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ แสวงหาความรู้ตลอดชีวิต มี

                ทัศนคติเชิงบวก และผลงานนวัตกรรม

4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

           4.1 มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์  เข้าใจและ

เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

           4.2 มีความรับผิดชอบ มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  และมีการพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกาย 

                อารมณ์ สังคมและจิตใจ

           4.3 มีทักษะการเรียนรู้ในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม หรือ พหุวัฒนธรรม เข้าใจและเห็นคุณค่า

                 ของสังคม ศิลปวัฒนธรรม ที่ต้องนำไปสู่การปรับตัวในการเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของ                

                 สังคมไทยและสังคมโลก

     5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

5.1 สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา

5.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประมวลผล  แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้อง และรู้เท่าทัน

5.3 สามารถสื่อสาร วิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปประเด็นเนื้อหาทั้งการพูด การเขียน และการ 

 นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ