จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
22,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-966261
E-mail: ctt.nu.ac.th@gmail.com
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหลักสูตรที่มีการเปิดแห่งแรกและหลักสูตรนี้มีเปิดเพียง 2 แห่งในประเทศไทย บัณฑิตที่จบไปจะมีความเชี่ยวชาญในการทำงานห้องผ่าตัดหัวใจ ห้องตรวจสวนหัวใจ ห้องตรวจหัวใจแบบไม่รุกราน การดูแลระบบทางเดินหายใจ รวมถึงสามารถทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ในบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยผู้ที่จบหลักสูตรสามารถยื่นสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะในวิชาชีพได้ นอกจากนี้แล้วผู้ที่จบหลักสูตร สามารถเลือกศึกษาในวิชาชีพเฉพาะทาง (หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก) ที่เน้นความเชี่ยวชาญการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงทั้งในด็กและผู้ใหญ่ได้
ปรัชญาของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกที่มีความรู้และทักษะ ก้าวทันเทคโนโลยี บูรณาการความรู้ งานวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรม สู่การพัฒนาวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดี ทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม ยึดถือจรรยาบรรณวิชาชีพ
สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานการตรวจวินิจฉัยและช่วยในกระบวนการรักษาร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งต้องมีความรู้และทักษะวิชาชีพเพื่อช่วยในการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมและป้องกันโรค การช่วยวินิจฉัย การติดตาม การรักษาโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคทางระบบทางเดินหายใจด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมทั้งมีความสามารถในการใช้งานและการบริหารจัดการอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ดังนั้นหลักสูตรเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 จึงมุ่งเน้นที่จะให้ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นไปตามสมรรถนะหลักของนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ซึ่งครอบคลุมหน้าที่ตามขอบเขตวิชาชีพ ได้แก่ เครื่องมือทางการแพทย์ การตรวจหัวใจและหลอดเลือดแบบไม่รุกราน การตรวจสวนหัวใจ สรีรไฟฟ้าหัวใจ หลักการหัวใจและปอดเทียม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการกำซาบ หลักการประเมินและบำบัดหัวใจ และการช่วยหายใจทางคลินิก รวมถึงมีการมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวรคือ ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุข และสอดคล้องกับค่านิยมหลักของสถาบันในการมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นสากล (Internationalization) มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Products) และสามารถบูรณาการการทำงานเป็นทีมและเครือข่าย (Integrative Team and Networking)
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ยังมุ่งพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ที่มีวิสัยทัศน์คือ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิต อย่างเป็นสุข ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 (3Rs และ 8Cs) ได้แก่ ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรมจริยธรรม รวมถึง ทักษะอ่าน เขียน และคณิตศาสตร์ โดยทักษะที่สำคัญเหล่านี้ได้กำหนดไว้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
ความสำคัญของหลักสูตร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 เป็นนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดหัวใจ ห้องสวนหัวใจ ห้องตรวจประเมินระบบหัวใจและหลอดเลือดแบบไม่รุกราน และห้องตรวจระบบทางเดินหายใจในโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
2 เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์การแพทย์
3 ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกหรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO 1 แสดงออกซึ่งความรู้ หลักการและทฤษฎี ในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
ELO 2 ใช้ความรู้และทักษะการวิจัยในการแก้ปัญหาและพัฒนางานวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
ELO 3 แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ELO 4 ปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ