คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์

Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Product and Package Design


จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962467
E-mail: nan25_2529@hotmail.com
จุดเด่นของหลักสูตร
     การสอนพื้นฐานศาสตร์การออกแบบครอบคลุมในกลุ่มวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ แฟขั่นและเครื่องประดับ ก่อนผู้เรียนจะเลือกเรียนในกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนต้องการในระดับที่สูงขึ้นเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ปรัชญาของหลักสูตร
     การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานคุณค่าและความงามเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานออกแบบให้ตอบสนองความต้องการของประชากรที่หลากหลาย บูรณาการสหวิทยาการสู่การสร้างประสบการณ์ใหม่กับพฤติกรรมของผู้ใช้นวัตกรรมงานออกแบบ ยกระดับภูมิปัญญาสู่ความยั่งยืน ในระดับชาติและสากล
ความสำคัญของหลักสูตร
     การเรียนศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ แฟชั่นและเครื่องประดับที่สามารถบูรณาการศาสตร์ความรู้อื่นๆร่วมได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่หลายหลาย โดยยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นสากล
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. ผู้ประกอบการด้านการออกแบบ (Design for Entrepreneur)
2. นักออกแบบเพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชน และสังคม (Inclusive diversities Designer)
3. นักออกแบบวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจและการสร้างแบรนด์ (Strategic planner) .
4. นักออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น (Textile and Fashion Designer)
5. นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial Product Designer )
6. นักออกแบบหัตถผลิตภัณฑ์ (Crafts Product Designer)
7. นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ( Package Designer )
8. นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ (Furniture Designer)
9. นักออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Product Designer)
10. นักออกแบบกราฟิกและคอมพิวเตอร์กราฟิก (Graphic and Computer graphic Designer)
11. นักออกแบบตกแต่งสถานที่ (Decorative / Exhibition Designer)
12. นักออกแบบเครื่องปั้นดินเผา (Ceramic Designer)
13. นักออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม (Circular Eco- Designer)
14. นักวิจัยด้านการออกแบบ (Design Researcher)
15. นักออกแบบการบริการ (Product Service System Designer)
16. นักปฏิบัติการอุตสาหกรรมการผลิตงานออกแบบ อาทิ บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ แฟชั่นและสิ่งทอ เครื่องประดับ


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 แสดงถึงการใช้ความรู้ หลักการ พื้นฐานการออกแบบ เชิงสุนทรียศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ ภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่น สู่การสร้างสรรค์งานการออกแบบกลุ่มผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ อย่างร่วมสมัย
ELO2 บูรณาการองค์ความรู้ของศาสตร์แห่งสหวิทยาการ ร่วมกับงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยผสานทั้งแนวคิดและมุมมองในระดับสากล ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ELO3 แสดงถึงการใช้ ระเบียบวิธีวิจัย การคิดเชิงวิพากษ์ เทคนิค เครื่องมือ การคิดเชิงนักออกแบบ เพื่อกำหนดความต้องการ สู่การคัดเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่สำคัญ จากความเป็นไปได้ที่ลากหลาย เพื่อการสร้างนวัตกรรม หรืองานสร้างสรรค์
ELO4 วางกลยุทธ์สำหรับงานออกแบบและสื่อสารแนวคิด ทั้งในด้านความงามและการนำเสนอ โดยเน้นกลุ่มลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ สอดคล้องกับบริบทสังคม วัฒนธรรมที่หลากหลายและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ELO5 ผลิตชิ้นงาน โดยคำนึงถึงกระบวนการ วิวัฒนาการการผลิต การเลือกใช้วัสดุ ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสมกับบริบทสังคม
ELO6 ใช้ประโยชน์จากโครงการเชิงปฏิบัติการ ที่สร้างนวัตกรรมทางการออกแบบ ตามความต้องการของประชากรที่หลากหลาย เพื่อการเเก้ปัญหาทั้งในมิติของชุมชนเเละอุตสาหกรรม
ELO7 แสดงถึงความรู้ ในเรื่องการสืบค้นข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างเหมาะสม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและจรรยาบรรณวิชาชีพ
ELO8 แสดงถึงความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ รับฟังความเห็นผู้อื่น ทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้ที่มีความแตกต่างทางบริบท สังคม วัฒนธรรมที่หลากหลาย มีจริยธรรมของวิชาชีพนักออกแบบตามมาตรฐานสากล