คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน (ต่อเนื่อง)

Bachelor of Science Program in Logistics and Digital Supply Chain (Continuing Program)


จำนวนรับเข้าศึกษา
40 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 27,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-968747
E-mail: ldsc@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
     หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน (2 ปี) เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา และ / หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าจากสาขาที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน โดยหลักสูตรฯ มุ่งเน้นให้นิสิตสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ด้านการวิจัย ด้านการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และการบริการที่ครบวงจร รวมถึงการศึกษาที่นำองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ ด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning: ML) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) หรือ ดิจิทัลซัพพลายเชน (Digital Supply Chain) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมุ่งเน้นให้นิสิตรู้ทฤษฎี ปฏิบัติได้จริง เป็นผู้นำทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่างร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ

ปรัชญาของหลักสูตร
    ผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการจัดการโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน (ต่อเนื่อง) มีความสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร คือ “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมของผู้ประกอบการ” โดยที่หลักสูตรได้ พัฒนาขึ้นโดยตระหนักถึงการส่งเสริมแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการให้แก่บัณฑิต
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. เจ้าหน้าที่วางแผนวัตถุดิบ การผลิต และกระจายสินค้า
2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
3. เจ้าของธุรกิจหรือผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์
4. นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน
5. พนักงานองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในหน่วยงานด้านโลจิสติกส์และที่เกี่ยวข้อง


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

PLO1: อธิบายทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพ
พลายเชน และสามารถบูรณาการความรู้ด้านโลจิสติกส์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ได้ (S)
10
PLO2: ประยุกต์ใช้ความรู้ ทฤษฎี และหลักการด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนอย่าง
เป็นระบบ ประเมินสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้ความรู้เป็นฐาน และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไข
ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ (S)
PLO3: วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณในกระบวนการโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ และสามารถประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงานได้ (S)
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะ
PLO4: นำความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ใน
ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ (G)
PLO5: สามารถใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการอธิบายหลักการ สถานการณ์ และ
สื่อสารเพื่อการทำงานได้ (G)
PLO6: จัดกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ และสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับ
การแก้ปัญหาในงานด้านโลจิสติกส์ที่ได้ (S)
ผลการเรียนรู้ด้านจริยธรรม
PLO7: ปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของ
ตนเองจนเป็นนิสัย (G)
ผลการเรียนรู้ด้านลักษณะบุคคล
PLO8: แสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ (G)