1) มีความรู้ ความเข้าใจวิชาคติชนวิทยา ตลอดจนทฤษฎีและระเบียบวิธีที่เกี่ยวข้อง
2) สามารถใช้เทคนิคการวิจัยทางคติชนวิทยาเพื่อวิจัยสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและสามารถปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมอันเหมาะสม
3) มีความเป็นพลเมืองโลก ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม และมีจิตสาธารณะ
1. ครู/อาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาคติชนวิทยา และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาและวรรณคดีไทย วัฒนธรรมศึกษา ท้องถิ่นศึกษา ไทยศึกษา เป็นต้น
2. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้านวัฒนธรรมทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระ
3. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานพัฒนาสังคมและพัฒนาชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน
4. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานในงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เทศกาลประเพณี อาหารและการแพทย์พื้นบ้าน การช่างฝีมือพื้นบ้าน ศิลปะและหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตลอดจนการเมืองท้องถิ่น
5. อาชีพอิสระ เช่น ผู้ผลิตสื่อทางวัฒนธรรม ยูทูบเบอร์ (YouTuber) อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)
เป็นต้น
PLO1 อธิบายเนื้อหาสาระ ระเบียบวิธี และทฤษฎีเบื้องต้นทางคติชนวิทยา
PLO2 ใช้เทคโนโลยีสืบค้นและนำเสนอข้อมูลทางคติชนวิทยา
PLO3 ประยุกต์ใช้ความรู้ทางคติชนวิทยาหรือบูรณาการกับศาสตร์อื่นในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน
PLO4 วางแผนและดำเนินการวิจัยด้วยตนเอง
PLO5 ปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม ทางวิชาการและการวิจัยตามมาตรฐานสากลPLO6 ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม
(แสดงออกด้วยความเคารพในความหลากหลายและแตกต่างทางเชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศต้นกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือสิ่งอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตาม)
PLO7 แสดงออกถึงความมีจิตสาธารณะ
(แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในฐานะพลเมือง ได้แก่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษาสมบัติของส่วนรวม ให้ความร่วมมือต่อสังคม ไม่ก่อปัญหาให้สังคม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม รักษาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวมทั้งต่อประเทศชาติและโลก)