-การเรียนการสอนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษตามความเหมาะสมของผู้เรียน และรับได้ทั้งนิสิตชาวไทยและชาวต่างชาติ
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ความรู้ เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์งาน สถาปัตยกรรรม หรือการบริการทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับความยั่งยืน
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความสามารถในการทำวิจัยด้านสถาปัตยกรรมที่มีประโยชน์ต่อวงการวิชาการ หรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความคิดเป็นระบบ คำนึงถึงบริบท และ สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจ
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่ง แวดล้อมโดยรวม
ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์กระบวนการแสวงหาองค์ความรู้ และแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1. อาชีพสถาปนิก ในกรณีนิสิตมีคุณสมบัติตามเกณฑ ์และได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก
2. ปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาสถาปัตยกรรม
3. นักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
4. นักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ELO1 แสดงออกถึงการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม และจรรยาบรรณาทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ELO2 จัดเตรียมและปรับแผนการทำงาน หรืองานวิจัยได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบ/
ELO3 สามารถประสานงานหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ELO4 สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการทำงาน และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO5 สามารถสื่อสารข้อมูล และแสดงความเห็นทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ ทั้งภาษาแม่และภาษาอังกฤษ
ELO6 วิเคราะห์ข้อมูล ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรม และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงความรู้และความเป็นไปในระดับท้องถิ่น สู่การวิจัยทางสถาปัตยกรรม
ELO7 บูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ELO8 ประเมินข้อมูลหรือกระบวนการสำหรับงานวิจัยทางวิชาการหรือการสร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม ได้อย่างเหมาะสมตามหลักตรรกศาสตร์
ELO9 ผลิตผลงานวิจัยหรือการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง อันก่อประโยชน์ต่อวงการวิชาการหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม บนพื้นฐานองค์ความรู้ในบริบทใหม่