คณะสหเวชศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก

Master of Science Program in Cardio-Thoracic Technology


จำนวนรับเข้าศึกษา
10 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 30,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-966286
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะเฉพาะ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจัยจากความรู้พื้นฐานไปสู่เชิงคลินิกและนวัตกรรม ร่วมกับการมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อประยุกต์และพัฒนางานในวิชาชีพให้ได้มาตรฐานสากล
ความสำคัญของหลักสูตร
     โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุของการตายในอันดับต้นของประเทศไทยและประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีในการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด และการเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขตามนโยบายของรัฐบาล ช่วยลดอัตราการตายและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ บุคลากรด้านเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกยังไม่พอเพียงสำหรับการขยายตัว เทคโนโลยีที่ใช้มีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวิจัยพัฒนายังมีจำกัด และยังต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการตรวจประเมินหรือการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดบางชนิด ดังนั้นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง มีทักษะเฉพาะ มีแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรม จึงมีความสำคัญ อันจะก่อประโยชน์ให้กับสังคมทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1. ผู้เชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีพิเศษในการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น การใช้เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงในเด็กและผู้ใหญ่ เครื่องประคับประคองการไหลเวียนโลหิต เครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการตรวจสวนหัวใจและสรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ 
2. อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
3. นักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน  


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

- มีความสามารถในการอ่าน วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ งานวิจัย นำความรู้มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดประเด็นปัญหา วางแผนและออกแบบงานวิจัย

- ปฏิบัติการวิจัย และบริหารจัดการงานวิจัยได้ด้วยหลักวิชาการที่ถูกต้อง ทันสมัย ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

- มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีทักษะปฏิบัติในเทคนิคที่ใช้ในการทำวิจัย กำหนดประเด็นปัญหาและออกแบบงานวิจัยได้ มีทักษะวิชาชีพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติในสถานการณ์จริง มีความสามารถในการอ่าน วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ งานวิจัยได้

- ดำเนินการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ละเลยจริยธรรมการวิจัย นำเสนอ/ตีพิมพ์ผลงานวิจัยได้