จำนวนรับเข้าศึกษา
10 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
30,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962407
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ
1. ผู้นำและผู้จัดการทางกีฬาสำหรับสถานประกอบการกีฬา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน หน่วยงานทางกีฬา สโมสรกีฬาอาชีพ และสมาคมกีฬา เป็นต้น
2. ผู้ประกอบการธุรกิจทางกีฬาและการจัดการกีฬา
3. บุคลากรทางกีฬาการออกกำลังกาย และเสริมสร้างสุขภาพ
4. นักวิชาการทางกีฬาสำหรับสถานประกอบการกีฬา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วน
ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และสมาคมกีฬาเป็นต้น
5. บุคลากรทางกีฬาในสถานประกอบการกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกีฬา และการจัดการนันทนาการ
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา เป็นหลักสูตรสหวิทยาการ(Interdisciplinary) ซึ่งรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการและการกีฬา ให้เป็นผู้มีความสามารถในการจัดการกีฬาในหน่วยงานทางกีฬาทั้งของภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเป็นผู้มีภาวะผู้นำและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการวิจัยเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาองค์การและองค์ความรู้ด้านการจัดการกีฬา
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา จะช่วยสร้างและพัฒนาผู้นำผู้บริหารการกีฬาหรือผู้จัดการทางกีฬา และบุคลากรทางกีฬาให้มีความรู้ในศาสตร์การจัดการมีสมรรถนะของผู้นำและหรือผู้จัดการทางกีฬา เป็นนักการจัดการมืออาชีพที่สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานทางกีฬา
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1. ผู้นำและผู้จัดการทางกีฬาสำหรับสถานประกอบการกีฬา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน หน่วยงานทางกีฬา สโมสรกีฬาอาชีพ และสมาคมกีฬา เป็นต้น
2. ผู้ประกอบการธุรกิจทางกีฬาและการจัดการกีฬา
3. บุคลากรทางกีฬาการออกกำลังกาย และเสริมสร้างสุขภาพ
4. นักวิชาการทางกีฬาสำหรับสถานประกอบการกีฬา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วน
ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และสมาคมกีฬาเป็นต้น
5. บุคลากรทางกีฬาในสถานประกอบการกีฬา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกีฬา และการจัดการนันทนาการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
K: ความรู้ในสาขาการจัดการกีฬา สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และทำวิทยานิพนธ์ได้
S: เสนอประเด็น และวิพากษ์งานวิจัย ดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ได้ด้วยตนเอง
A: รับฟังข้อเสนอแนะในการวิพากษ์งานวิจัย ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีจริยธรรมของนักวิจัย