คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Music Program


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 22,500/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962035
E-mail: humanadmission@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต ให้ความสำคัญต่อการผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรี โดยใช้กระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ การบูรณาการและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาวิชาชีพและสังคมอย่างยั่งยืน ตามปัจจัยในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม.

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564) จะพัฒนาศักยภาพในกระบวนการวิจัย การบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ และการสร้างสรรค์ เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถ ประยุกต์องค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการปฏิบัติและการบูรณาการองค์ความรู้ ทางดนตรีเข้ากับงานวิจัยตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ อย่างสร้างสรรค์ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและสร้างความเข้มแข็ง ทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้พัฒนาและยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
    

1. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศทางดุริยางคศิลป์ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ
2. เป็นผู้ที่มีทักษะและความสามารถและรู้จักการค้นคว้าในการวิจัยทางดุริยางคศิลป์ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านดุริยางคศิลป์
3. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถความคิดสร้างสรรค์กับการบูรณาการ เพื่อการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางดุริยางคศิลป์กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของสังคม รวมทั้งสามารถเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
4. เป็นผู้ใฝ่รู้ ติดตาม วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านดุริยางคศิลป์ และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์งานทางดุริยางคศิลป์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางดุริยางคศิลป์และการนำประโยชน์ไปใช้ในวงกว้าง

 


กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนทางดนตรีในสถาบันการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงระดับปริญญาตรีทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาดนตรีไทย ดนตรีตะวันตก ดนตรีพื้นบ้าน ทั้งในด้านดนตรีวิทยาและดนตรีศึกษา
2. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน
3. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานในงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในด้าน ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
4. นักสร้างสรรค์และบูรณาการทางดุริยางคศิลป์


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 สามารถแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม องค์กร และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพทางดุริยางคศิลป์ และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
ELO2 สามารถบูรณาการศาสตร์ทางดุริยางคศิลป์กับศาสตร์อื่นเพื่อการศึกษาและการวิจัย
ELO3 สามารถสร้างงานวิจัยทางด้านดุริยางคศิลป์
ELO4 สามารถสังเคราะห์ วิเคราะห์ และวิจารณ์งานวิชาการทางด้านดุริยางคศิลป์
ELO5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างงานวิจัยทางดนตรีได้
ELO6 สามารถเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านดุริยางคศิลป์ในระดับชาติได้