คณะวิทยาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

Doctor of Philosophy Program in Chemistry


จำนวนรับเข้าศึกษา
4 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 78,500/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-963401
E-mail: chem-info@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    ในกระบวนการเรียนการสอนในหลักสูตรจะต้องเป็นแบบ research-based learning เพิ่มมากขึ้น จากที่เคยเป็นแบบ conventional teaching based learning เพราะการได้เข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้พื้นฐานสามารถศึกษาและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วผ่าน digital technology ที่สามารถสื่อและ แสดงข้อมูลหรือความรู้ที่เป็นแบบนามธรรมให้เป็นแบบรูปธรรม และสามารถเข้าใจได้ง่าย และมีการ ปรับเพิ่มรายวิชาการลงทุนและความเป็นผู้ประกอบการสำหรับเคมีเพื่อให้นิสิตมีคุณลักษณะที่พร้อมใช้ งานโดยผู้ประกอบการ ด้วย สถานการณ์ COVID-19 ทำให้การเรียนการสอนในทุกระดับต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน ทำให้การสื่อสาร การประชุม การเรียนการสอน เริ่มมีการใช้ สื่อแบบ online มากขึ้น ทำให้วัฒนธรรมการเรียนที่ต้องศึกษาในสถานศึกษาเริ่มเปลี่ยนไป ส่งผลให้การเรียนการสอนในปัจจุบัน สามารถเรียนได้จากที่สถานทีในแบบ “we can study from anywhere on earth and beyond” ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ technology platform เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพจึงเป็นส่งที่ทุกสถาบันต้องมีการปรับปรุงและแข่งขันอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อตอบ need ของผู้เรียน

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมี เป็นหลักสูตรที่ผลิตนักวิจัยระดับชั้นนำที่มีความรู้และความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและสามารถแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติด้วย สติ ปัญญาและความสามารถ
ความสำคัญของหลักสูตร
    เป็นหลักสูตรที่ผลิตนักวิจัยที่มีความรู้และความสามารถที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่ใน ประเทศและต่างประเทศ (serve local and impact global society)
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

(1) นักวิจัยประจำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สถาบันวิจัยชั้นนำของรัฐและรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนหรือโรงงานอุตสาหกรรม 

(2) ที่ปรึกษาของการผลิตในบริษัทเอกชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 

(3) ผู้เชี่ยวชาญของภาคธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องด้านเคมี เช่น อาหาร ยา สมุนไพร วัสดุศาสตร์พลังงาน ทั้งใน ภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานของรัฐ 

(4) นักวิชาการ อาจารย์ นักวิเคราะห์ในสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และ เอกชน 

5) ผู้ควบคุมการผลิตในบริษัทเอกชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเคมี 

(6) ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องด้านเคมี เช่น อาหาร ยา สมุนไพร วัสดุศาสตร์พลังงาน



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

1.อธิบาย (explain) ทฤษฎีทางเคมีเฉพาะทางได้อย่างถูกต้อง (analyzing) 

2. สร้าง (create) องค์ความรู้ใหม่ทางเคมีเฉพาะทาง (creating) 

3. สื่อสาร (communicate) องค์ความรู้ทางเคมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (articulation) 

4. ออกแบบ (design) งานวิจัยที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจแนวใหม่ (BCG Economy) (manipulation) 

5. ใช้ (apply) เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อการวิจัยและจัดการสารสนเทศ (precision) 

6. มีจริยธรรมของนักวิจัย (characterization)