คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

Doctor of Fine and Applied Arts Program in Art and Design


จำนวนรับเข้าศึกษา
12 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 50,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962467
E-mail: nan25_2529@hotmail.com
จุดเด่นของหลักสูตร
     การใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้วิธีวิทยาด้านการวิจัยสร้างสรรค์ ผสมผสานกับความชำนาญในเชิงวิชาการและทักษะปฏิบัติด้านศิลปะหรือการออกแบบที่เป็นภูมิหลังการศึกษาของนิสิตเฉพาะบุคคล สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือเติมเต็ม/ต่อยอดทฤษฎีเดิม เพื่อแก้ปัญหาเชิงวิชาการหรือเชิงทักษะปฏิบัติการด้านศิลปะและการออกแบบที่มีความเป็นปัจจุบัน และสามารถนำไปสู่การประกาศทฤษฎีหรือแนวปฏิบัติใหม่ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะหรืองานออกแบบ

ปรัชญาของหลักสูตร
     กระบวนการทางศิลปะและการออกแบบกับวิธีวิทยาการวิจัยสร้างสรรค์ การบูรณาการข้ามศาสตร์ บนรากฐานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อสถานการณ์สังคมและเศรษฐกิจทั้งในบริบทท้องถิ่นและสากล
ความสำคัญของหลักสูตร
     หลักสูตรคำนึงถึงข้อคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต ผู้ประกอบการ นิสิตปัจจุบัน และศิษย์เก่า ที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสมรรถนะ ทักษะของมหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตศิลปะและการออกแบบในศตวรรษ 21 การใช้องค์ความรู้ด้านการวิจัยสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิชาการ การสื่อสารบูรณาการ ข้ามศาสตร์ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในศาสตร์ศิลปะและการออกแบบอย่างเหมาะสม รวมถึงทักษะความเป็นผู้ประกอบการ ความสามารถในการปรับตัว ความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงความตระหนักและคำนึงถึงปัญหา ปรากฏการณ์ที่เป็นปัจจุบัน ทั้งในเชิงสังคม สภาพเเวดล้อม หรือเศรษฐกิจ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1 อาจารย์ประจําสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
2 ปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
3 นักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะและการออกแบบ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
4 นักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะและการออกแบบ และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 วิพากษ์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม หรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่มีผลต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของผลงานศิลปะและงานออกแบบ ที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ และประวัติศาสตร์ได้ (Analyzing)
ELO2 แสดงการใช้หลักการพื้นฐานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่น และการบูรณาการองค์ความรู้ศาสตร์แห่งสหวิทยาการ เพื่อ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตร่วมสมัยและความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ (Applying)
ELO3 ออกแบบการใช้วิธีวิทยาทางการวิจัยสร้างสรรค์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กำหนดความต้องการ แก้ไขปัญหา และนำไปสู่การต่อยอดทฤษฏีเดิม หรือสร้างทฤษฏีใหม่ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ หรืองานออกแบบ หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ (Creating)
ELO4 ประเมินปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการผลิตชิ้นงาน เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการออกแบบและผลิตชิ้นงานศิลปกรรม หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือบรรจุภัณฑ์ หรือสื่อนวัตกรรม ตามมาตรฐานสากล และเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบันได้ (Evaluating)
ELO5 แสดงข้อเท็จจริงในการโต้แย้งเชิงทฤษฎี และสื่อสารแนวคิดในงานศิลปะ หรืองานออกแบบที่กำลังศึกษา ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอได้ ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ (Applying)
ELO6 ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามจรรยาบรรณ และจรรยาวิชาชีพนักศิลปะหรือนักออกแบบ มีสภาวะความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบและเคารพความเห็นต่างในการทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ (Affective)