คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

Doctor of Philosophy Program in Agricultural Biotechnology


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 35,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962748
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรจะเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ ความรู้เชิงลึกโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อยอด การค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ทางเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร โดยมีจริยธรรมทางการศึกษา นวัตกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายชาติในเรื่องมหาวิทยาลัยเป็นที่สร้างองค์ความรู้ Frontier แห่งอนาคต (Frontier Research/Knowledge) ความรู้และนวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรที่เกิดจากสาขานี้จะนำมาช่วยพัฒนาประเทศได้เท่าทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาจากหลักสูตรช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

ปรัชญาของหลักสูตร
    ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ ทั้งองค์ความรู้ ใหม่และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่อย่างปลอดภัย และยั่งยืน บนพื้นฐานการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อ ตนเองและสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
    เทคโนโลยีชีวภาพเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพประชากรโลกในมติต่างๆ ทั้งด้านการเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรม และ สิ่งแวดล้อม ประเทศไทยกำหนดให้การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะการใช้ เทคโนโลยีเพื่อเร่งรัดการพัฒนาการเกษตรในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มมูลค่าของ ผลผลิต การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การจัดการโรคและศัตรูของพืชและสัตว์ การลดการใช้สารเคมีใน ภาคการเกษตร การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเป็นอาหารและพลังงาน การพัฒนาสารชีวภัณฑ์ สำหรับพืชและสัตว์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีเฝ้าระวังและฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดเตรียมกำลังคนและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ทางด้าน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้พัฒนาหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ซึ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้าง องค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเกษตรอย่างปลอดภัยและยั่งยืน ต่อไปได้
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1 อาจารย์

2 นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์

3 พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

4 ผู้ประกอบการ

5 นักวิชาการอิสระ


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม ความมีจริยธรรมทางวิชาการ

ELO2 อธิบาย หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและทักษะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับการเกษตร

ELO3 อธิบาย องค์ความรู้และทักษะทางด้านการวิจัยและออกแบบงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีELO4 บูรณาการความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อพัฒนาคุณภาพและแก้ปัญหาการเกษตร ทั้งการผลิต และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรอย่างยั่งยืน

ELO5 แสดงภาวะความเป็นผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง

ELO6 สามารถสื่อสารข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ