จำนวนรับเข้าศึกษา
12 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
50,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962467
E-mail: nan25_2529@hotmail.com
จุดเด่นของหลักสูตร
-การเรียนการสอนเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษตามความเหมาะสมของผู้เรียน และรับได้ทั้งนิสิตชาวไทยและชาวต่างชาติ
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ความรู้ เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์งาน สถาปัตยกรรรม หรือการบริการทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับความยั่งยืน
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความรู้และทักษะในการสร้างผลงานวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทาง สถาปัตยกรรม
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความสามารถในการทำวิจัยด้านสถาปัตยกรรม และสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยแนวคิดหรือกระบวนการใหม่ เพื่อพัฒนาวงการวิชาการหรือวิชาชีพ สถาปัตยกรรม
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีความคิดเป็นระบบ คำนึงถึงบริบท และ สามารถบูรณาการความรู้ข้ามสาขาวิชา
-เพื่อให้ได้บัณฑิตที่เป็นผู้มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่ง แวดล้อมโดยรวม
ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความลุ่มลึกทางด้านวิชาการและสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัย
ในสาขาสถาปัตยกรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมหรือบูรณาการวิชาการให้เทียบ
เท่ามาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความสำคัญของหลักสูตร
องค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม มีความเกี่ยวพันกับการพัฒนาการแก้ปัญหาด้วย กระบวนการทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาคุณภาพ ชีวิตผู้คน พัฒนาชุมชน และสร้างความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางภาควิชาสถาปัตยกรรม จึงได้จัดทำและพัฒนาหลักสูตร โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการ ก่อสร้าง การสร้างสรรค์เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม และมุ่งเน้น การผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยและสามารถสร้างองค์ความรู้ ด้วยแนวคิด หรือกระบวนการใหม่ และบูรณาการความรู้ข้ามสาขาวิชา อันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์ความรู้ ทางสถาปัตยกรรม และส่งผลต่อการพัฒนาประเทศและสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1. อาชีพสถาปนิก ในกรณีนิสิตมีคุณสมบัติตามเกณฑ์และได้รับการรับรองจากสภาสถาปนิก
2. ปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาสถาปัตยกรรม
3. นักวิชาการที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
4.นักวิจัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรม และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 แสดงออกถึงการปฏิบัติตามหลักคุณธรรม และจรรยาบรรณาทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ELO2 จัดเตรียมและปรับแผนการทำงาน หรืองานวิจัยได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบ
ELO3 สามารถประสานงานหรือทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ELO4 สามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการทำงาน และนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO5 สามารถสื่อสารข้อมูล และแสดงความเห็นทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง
ตรงประเด็น และมีประสิทธิภาพ ทั้งภาษาแม่และภาษาอังกฤษ
ELO6 วิเคราะห์ข้อมูล ทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมโยงความรู้และความเป็นไปในระดับโลก สู่การวิจัยทางสถาปัตยกรรม
ELO7 บูรณาการความรู้ข้ามสาขาวิชา สู่องค์ความรู้ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม
ELO8 ประเมินข้อมูลหรือกระบวนการสำหรับงานวิจัยทางวิชาการหรือการ
สร้างสรรค์ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางสถาปัตยกรรม ได้อย่างเหมาะสมตามหลักตรรกศาสตร์
ELO9 ผลิตผลงานวิจัยหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม อันก่อประโยชน์ต่อวงการวิชาการหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรม ด้วยกระบวนการ แนวคิด หรือวิธีการใหม่/