คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน

Degree: Doctor of Philosophy in Logistics and Digital Supply Chain


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 100,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-968747
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ให้ความสำคัญกับการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และการสร้างองค์กรสมรรถนะสูง ผ่านนักวิชาการ นักบริหาร และอาจารย์ผู้มีความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งจะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศที่สามารถพัฒนางานวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้อื่นได้ อีกทั้งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทางอ้อมอีกด้วย คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการสร้างนักวิจัย อาจารย์ ผู้บริหาร และส่งเสริมบุคลากรด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมืออาชีพของประเทศ และภูมิภาคเอเชีย ให้สามารถเตรียมรับมือกับการพัฒนาในยุค Logistics 4.0 ซึ่งผู้ผลิตจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น การพัฒนาประสิทธิภาพระหว่างซัพพลายเชนสูงขึ้น ตลอดจนสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยเสริมระบบโลจิสติกส์ครบวงจร ส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจอย่างมี ธรรมาภิบาลและความยั่งยืน สร้างสังคมที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลก คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มุ่งเน้นการสร้างนักวิจัย นักวิชาการ และอาจารย์ผู้มีความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ผ่านการเรียนรู้ ควบคู่กับการปฏิบัติ และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่สามารถสร้างความเป็นผู้นำทางความคิด ผู้นำในการเปลี่ยนแปลงในองค์การและประเทศชาติอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
ความสำคัญของหลักสูตร
    ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจประสบกับการแข่งขันที่รุนแรงมาก ดังนั้นการดำเนินธุรกิจจึงต้องแสวงหาวิธีหรือ กลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร หรือเพื่อความอยู่รอดขององค์กรทางธุรกิจ โดยระบบการจัดการโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ช่วยในการวางแผน สนับสนุน การควบคมุการไหลเวียนของสินค้า ข้อมูล และบริการจากแหล่งวัตถุดิบจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคด้วยความรวดเร็วและต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กิจกรรมการจัดหาวัตถดุิบ การจัดการคลังสินค้า การดูแลสินค้าคงคลัง การบริหารต้นทุนการขนส่ง และการบริการลูกค้า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ คณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวรจะพัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ที่เป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านการจัดการและด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยเน้นการแก้ปัญหาในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนในเชิงวิศวกรรม และสามารถพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีด้านการจัดการ โลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชนแบบมีคุณภาพและมีความเป็นมืออาชีพ พร้อมจะเป็นผู้นำทางความคิดในการนำพาเศรษฐกิจท้องถิ่นและประเทศให้ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กับการเติบโตของเศรษฐกิจในยุคไร้พรมแดน และก้าวทันต่อยุคสมัยโลจิสติกส์ 4.0 (Logistics 4.0) ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่มีความเป็นสากลและสามารถประยุกต์ให้เข้ากับแผนบูรณาการของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาลและยั่งยืน ด้วยการใส่ใจในการรักษ์สิ่งแวดล้อมและโลก
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

(1) นักวิจัย/นักวิชาการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

(2) นักวิจัย/นักวิชาการด้านการจัดการการปฏิบัติการ

(3) นักวิจัยทางด้านบริหารธุรกิจของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ นักวิจัยอิสระ

(4) อาจารย์หรือนักวิชาการประจำสถาบันต่าง ๆ

(5) เจ้าของกิจการและผู้ประกอบอาชีพอิสระทางธุรกิจ

(6) ผู้บริหารองค์กรภาครัฐและเอกชนในระดับสูง


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 แสดงออกถึงมีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและสังคม รวมถึงสามารถใช้ดุลยพินิจทางด้านคุณธรรม จริยธรรมในการจัดการกับความขัดแย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

ELO2 สังเคราะห์องค์ความรู้เชิงลึกด้านโลจิสติกส์และดิทัลซัพพลายเชน รวมทั้งสามารถนำหลักการ และทฤษฎีที่เป็นรากฐานไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยที่สร้างองค์ความรู้หรือนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระดับองค์กรหรือเชิงนโยบาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมของประเทศ

ELO3 จัดประเภทของข้อมูลโดยใช้ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ (Software) ที่ทันสมัยในด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงองค์ความรู้ด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management) ในงานวิจัยได้

ELO4 แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้อย่างเป็นระบบ โดยการนำองค์ความรู้เชิงลึกด้านโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน และศาสตร์ด้านอื่นที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการร่วมกัน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยวิธีการใหม่ๆ ในการตอบสนองความต้องการระดับชาติทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ELO5 แสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบทีมได้

ELO6 อธิบาย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการนำเสนอผลงานวิจัย และการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ