จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
35,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962302
E-mail: maths@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
-
ปรัชญาของหลักสูตร
1.1 ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถขั้นสูงทางด้านสถิติ สามารถทำการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสถิติ ทั้งในเชิงทฤษฎีและการประยุกต์ มีคุณธรรมและจริยธรรม ตลอดจนบูรณาการความรู้ทางด้านสถิติเข้ากับศาสตร์อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี สังคม วัฒนธรรม สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม
1.2 ความสำคัญ
ในการพัฒนาประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ที่ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์สารสนเทศจากข้อมูลจนได้นวัตกรรมข้อมูลเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอัตรากำลังของบุคลากรที่มีความสามารถด้านนี้โดยตรงยังไม่เพียงพอ ดังนั้นหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ จะสามารถตอบสนองการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ได้ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
2 นักวิจัย/นักสถิติ ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
3 นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
4 ที่ปรึกษาทางสถิติในองค์กรหรือโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล
5 ผู้ประกอบการอิสระด้านการจัดการข้อมูล
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพทางสถิติ โดยไม่คัดลอกผลงานวิจัยและนำเสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริง
ELO2 อธิบายและเชื่อมโยงความรู้ทางสถิติขั้นสูงกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้
ELO3 วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยทางสถิติขั้นสูงได้
ELO4 สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านสถิติทั้งในเชิงทฤษฎีและการประยุกต์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ
ELO5 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางสถิติขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริงได้
ELO6 ทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในบทบาทของผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO7 สื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ทางสถิติ และให้คำปรึกษาทางสถิติทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO8 เลือกใช้โปรแกรมทางสถิติในการจัดการข้อมูลได้อย่างถูกต้องและสร้างอัลกอริทึมใหม่ในการคำนวณเชิงสถิติและการจำลองเพื่อหาคำตอบในการวิจัยขั้นสูงได้