จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี
ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี
ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ
50,000/ภาคการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)
ข้อมูลการติดต่อ
โทรศัพท์: 055-962410
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ
1. นักวิชาการ นักวิจัย เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในสถาบันการศึกษา องค์เอกชน หรือ หน่วยงานรัฐบาล
2. อาจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษาหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ศึกษานิเทศก์ที่มีศักยภาพในการจัดโปรแกรมพัฒนาครูคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และความหลากหลายของผู้เรียน
4. ผู้บริหาร นักวิชาการ หรือผู้ให้คำปรึกษาในหน่วยงานที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในบริบทการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างหลากหลาย
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้มีความลุ่มลึกในองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ศึกษา มีความสามารถในการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์ศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยตามมาตรฐานสากล เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพอย่างเสมอภาคและคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน มีทักษะการเรียนรู้พัฒนาตนเองด้วยตนเองตลอดชีวิต และมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา เป็นหลักสูตรที่สร้างนักวิจัย นักวิชาการ ครู และ บุคลากรทางคณิตศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ที่นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่สร้างความเสมอภาคด้วยการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์ศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยตามมาตรฐานสากล เพื่อบ่มเพาะความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ให้เป็นคนที่มีความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ ที่สามารถ ที่มีความซับซ้อน และ มีความพลวัตสูง อย่างมีเหตุมีผล และมีวิจารณญาณ โดยมีคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1. นักวิชาการ นักวิจัย เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในสถาบันการศึกษา องค์เอกชน หรือ หน่วยงานรัฐบาล
2. อาจารย์ทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษาในสถาบันระดับอุดมศึกษาหรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. ศึกษานิเทศก์ที่มีศักยภาพในการจัดโปรแกรมพัฒนาครูคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และความหลากหลายของผู้เรียน
4. ผู้บริหาร นักวิชาการ หรือผู้ให้คำปรึกษาในหน่วยงานที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในบริบทการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีความแตกต่างหลากหลาย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 แสดงออกถึงองค์ความรู้ที่ลุ่มลึกทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษาที่เป็นสากล ในการออกแบบและจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียนหรือบริบทอื่น ๆ ที่ผู้เรียนมีความหลากหลายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาค
ELO2 สร้างนวัตกรรมทางด้านคณิตศาสตร์ศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในบริบทห้องเรียน หรือ บริบทอื่น ๆ ที่ผู้เรียนมีความหลากหลายโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ELO3 ออกแบบและดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ศึกษา
ELO4 สามารถเผยแพร่องค์ความรู้จากการวิจัยทางคณิตศาสตร์ศึกษาระดับชาติหรือในระดับสากล
ELO5 มีจริยธรรม ภาวะผู้นำทางวิชาการ ความรับผิดชอบ และ พัฒนาความรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง