คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

Doctor of Education Program in Thai Language


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 50,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962410
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ 1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาในภาครัฐบาลและเอกชน 2. อาจารย์ระดับอุดมศึกษา 3. นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านภาษาไทย 4. นักฝึกอบรมด้านภาษาไทย

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มุ่งพัฒนาบุคคลให้มีองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการสอนภาษาไทย โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยให้สอดคล้องกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมในโลกดิจิทัล สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเอง และนำนวัตกรรมสมัยใหม่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศ และนานาชาติ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งมีเจตคติที่ดีและมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ
ความสำคัญของหลักสูตร
    หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาและผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรอบรู้ในการวิจัยด้านการสอนภาษาไทยอย่างลึกซึ้ง สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการสอนภาษาไทย และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่บูรณาการองค์ความรู้ในวิชาหลักกับวิชาอื่นที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนากำลังคนให้รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาในภาครัฐบาลและเอกชน
2. อาจารย์ระดับอุดมศึกษา
3. นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านภาษาไทย
4. นักฝึกอบรมด้านภาษาไทย

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO 1 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามหลักคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

ELO 2 อธิบายองค์ความรู้ด้านการสร้างนวัตกรรมการวิจัยใหม่ด้านการสอนภาษาไทย

ELO 3 ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยที่ทันสมัย

ELO 4 วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ทางภาษาไทย และสามารถออกแบบนวัตกรรมงานวิจัยด้านการสอนภาษาไทยกับศาสตร์อื่น เพื่อนำไปพัฒนาวิชาชีพได้

ELO 5 แสดงออกถึงความเป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

ELO 6 สามารถใช้ทักษะการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูล ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยได้ และเผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ