คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์

Doctor of Philosophy Program in Music


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 30,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962035
E-mail: humanadmission@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ให้ความสำคัญ ต่อการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ที่มีคุณภาพ เพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสอดคล้องกับทักษะ เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้กระบวนทัศน์ใหม่ ในการศึกษาทางด้านดนตรี อันมีฐานการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้วยการใช้ องค์ความรู้ทางดุริยางคศิลป์ทั้งด้านทักษะปฏิบัติและทฤษฎี ร่วมกับการสร้างสรรค์ และบูรณาการ สู่ผลงานการวิจัยทางดนตรี ทั้งในด้านดนตรีวิทยาและดนตรีศึกษา เพื่อให้เข้าใจปรัชญาทางสุนทรียภาพสูงสุดแห่งดุริยางคศิลป์ พร้อมไปกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนตามปัจจัยในบริบทของการเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ พัฒนาศักยภาพในการวิจัย การบูรณาการองค์ความรู้และการสร้างสรรค์ เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญในศาสตร์เชิงลึก และมีความรู้อย่างลึกซึ้งในสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ สามารถศึกษา วิจัย พัฒนา และสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ ในสาขาวิขาได้อย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนสามารถสร้างความเข็มแข็งทางศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้พัฒนาและยั่งยืนสู่ระดับนานาชาติ ตามหลักจรรยาบรรณวิชาการ และวิชาชีพ ถึงพร้อมด้วยความดี ความงาม และความจริง
ความสำคัญของหลักสูตร
    

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ ผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความเข้าใจกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาทางด้านดุริยางคศิลป์ด้วย 3 ฐานแนวคิด ได้แก่ ฐานความเข้าใจในองค์ความรู้และปรัชญาสุนทรียศาสตร์แห่งดุริยางคศิลป์ ฐานความคิดสร้างสรรค์กับการบูรณาการและฐานการพัฒนาต่อยอดอย่างเหมาะสม
2. เป็นผู้นำทางวิชาการทางดุริยางคศิลป์ มีความรู้ความสามารถอย่างลุ่มลึกและเชี่ยวชาญ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางดุริยางคศิลป์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
3. เป็นผู้ที่มีทักษะและความสามารถในการวิจัยขั้นสูงทางดนตรี สามารถนำกระบวนทัศน์ใหม่ในเชิงดุริยางคศิลป์ไปประยุกต์ บูรณาการ ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของสังคม รวมทั้งสามารถเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

 


กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนทางดนตรีในสถาบันการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานถึงระดับอุดมศึกษาทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาดนตรีไทย ดนตรีตะวันตก ดนตรีพื้นบ้าน ทั้งในด้านดนตรีวิทยาและดนตรีศึกษา ในเครือข่ายระดับชาติและนานาชาติ
2. ผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานพัฒนาสังคมและพัฒนาชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล
3. นักสร้างสรรค์นวัตกรรมและบูรณาการทางดุริยางคศิลป์


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 มีความรับผิดชอบของตนเอง สังคม องค์กร และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพทางดุริยางคศิลป์
ELO2 สามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาทางดุริยางคศิลป์
ELO3 มีความคิดสร้างสรรค์กับการบูรณาการ เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางดนตรีและสามารถพัฒนาต่อยอดผลงานสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้
ELO4 มีทักษะในการวิเคราะห์ วิพากษ์ และวิจารณ์งานทางด้านดุริยางคศิลป์ในบริบทกระแสสังคมโลก
ELO5 มีทักษะและการทำวิจัยขั้นสูงทางดนตรี
ELO6 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเองและมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต