ปรัชญา
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนด้านสุขภาพและอนามัยจะบรรลุเป้าหมายแผนพัฒนาสาธารณสุขของประเทศได้ต้องได้รับการตอบสนองจากบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่บุคลากรทางด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขจะต้องมีปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน สภาพการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขผันแปรอยู่เสมอตามเหตุปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารสาธารณสุข
ให้เกิดการสมดุลระหว่างความรวยกับความจน ระหว่างตัวเมืองกับชนบท โดยการมุ่งเน้นผลิตแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและกำหนดแนวทาง ในการจัดการศึกษาในระบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาและใช้ชุมชนเป็นหลัก ทั้งนี้จะต้องให้การศึกษานิสิตแพทย์ให้มีความรู้ความสามารถ
สูงสุดในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยทั้งทางกาย จิต และสังคม โดยประยุกต์ทักษะทางวิชาชีพ 4 ด้าน คือด้านเทคโนโลยี(TECHO-WARE)องค์การ(ORGA-WARE) บุคคล(HUMAN-WARE) และข้อมูลข่าวสาร(INFO-WARE) เพื่อการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณในการให้
บริการผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน ทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ปณิธาน
1. มุ่งมั่นตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระราชบิดาเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในทุกด้าน
2. สืบสานสังคมไทยให้เป็นไทจากอวิชชา
3. ธำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติไทยและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
วิสัยทัศน์
โรงเรียนแพทย์ที่ใช้นวัตกรรมสร้างผู้นำด้านระบบสุขภาพ
พันธกิจ
ผลิตบัณฑิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถ
มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างงานวิจัยและนวัตกรรม
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ให้บริการทางการแพทย์ระดับมาตรฐานสากล
รวมถึงการบริการวิชาการเพื่อสังคม และทำนุศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม
เครื่องหมาย – ตราสัญลักษณ์
สีประจำคณะ
สีเขียวหัวเป็ด
ประวัติความเป็นมา
คณะแพทยศาสตร์ ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมุ่งผลิตแพทย์เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค และการพัฒนาให้บริการรักษาพยาบาล แก่ประชาชนในเขตจังหวัด
ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เริ่มรับนิสิตเข้าศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2538 และตั้งแต่ พ.ศ. 2544 – 2549 สภามหาวิทยาลัยนเรศวร มีมติให้เปิดหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาอีก 4 หลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาแพทยศาสตรศึกษา และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาระบบและนโยบายสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ)
ปัจจุบัน นอกจากการจัดการเรียนการสอนที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว คณะแพทยศาสตร์ ยังมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลแพร่
โรงพยาบาลพิจิตร และ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สถานที่ตั้ง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ : 0 5596 5595 - 8 0 5596 5666 0 5596 5777
โทรสาร : 0 5596 7927 0 5596 5005
เว็บไซต์ :http://www.med.nu.ac.th |