คณะมนุษยศาตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

Master of Arts Program in Thai


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 22,500/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962035
E-mail: humanadmission@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรมีลักษณะเป็นการศึกษาภาษาและวรรณกรรมไทยมีฐานะเป็นวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) มีรายวิชาที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์และสังเคราะห์ในสนามของวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น โดยแขนงที่ทำได้ดีคือ แขนงวรรณกรรม เช่น มีรายวิชาวรรณกรรมกับวัฒนธรรมศึกษา วรรณกรรมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรมีลักษณะเฉพาะถิ่นด้วย ตอบสนองการสร้างองค์ความรู้ และปฏิบัติการองค์ความรู้สำคัญของท้องถิ่น โดยมีรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง วิชาภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่น หรือวิชาภาษาถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และศักยภาพในการวิจัยทางด้านภาษา วรรณคดีไทยและวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างถึงพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
ความสำคัญของหลักสูตร
    

1. มีความรู้ความเข้าใจ ในด้านภาษา วรรณกรรมของชาติและของท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง
2. มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎีการศึกษาภาษาและวรรณกรรมในแนวทางวัฒนธรรมศึกษาและสามารถประยุกต์ใช้ในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านภาษาและวรรณกรรมของชาติและของท้องถิ่น
3. มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อดิจิทัลเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและการสื่อสารทางวิชาการด้านภาษาและวรรณกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
4. เป็นผู้มีจริยธรรมและคุณธรรมในวิชาชีพ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม


กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
- อาจารย์สาขาภาษาไทย ภาษาและวรรณคดีไทย
- อาจารย์สาขาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
- อาจารย์สาขาภาษากับวัฒนธรรม
2. นักวิจัย
-นักวิจัยในสาขาภาษาไทย ภาษาและวรรณคดีไทย ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
-นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานวัฒนธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน
-นักวิจัยและผู้ปฏิบัติงานในงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในด้าน ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
-นักวิจัยด้านการท่องเที่ยวเชิงวรรณกรรม ศิลปะและวัฒนธรรม
3. อาชีพอื่นๆ
-ผู้ผลิตเนื้อหาในสื่อด้านภาษา วรรณกรรมและวัฒนธรรม
-เจ้าหน้าที่พนักงานภาครัฐและเอกชนขององค์กรภายในที่ต้องใช้ความรู้ด้านภาษาไทย
-อาชีพอิสระอื่น ๆ


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    PLO 1 อธิบายแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรมไทยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ