จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงเพื่อรองรับปรัชญาการศึกษา (Philosophy of Education) ของมหาวิทยาลัยนเรศวรคือ ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีงาม
ในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุข รวมทั้งมุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี รวมทั้งจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุศิลปะและวัฒนธรรม และการบริหารจัดการ ประกอบกับการมีนโยบายที่มุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และบริการด้านวิชาการซึ่งรวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับเขตภาคเหนือตอนล่าง และการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่อันจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่พื้นที่รับผิดชอบในเขตภาคเหนือตอนล่าง และระดับประเทศ
ปรัชญาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรเพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะและมีหลักธรรมาภิบาล สามารถใช้
และต่อยอดองค์ความรู้ทางด้านหลักการอนุรักษ์ การฟื้นฟู ระบบสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ที่ทันสมัยมีมุมมองอย่างลุ่มลึกเชิงบูรณาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
มีทักษะในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมให้เป็นระบบในระดับชาติ เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
ยุทธศาสตร์แหล่งชาติ 20 ปี ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้มุ่งเน้นประเด็นการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟู ส่งเสริม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
อย่างยั่งยืน ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการรองรับยุทธศาสตร์หลักของประเทศเนื่องด้วยเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถมีสมรรถนะในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดยนำองค์ความรู้ต่างๆ ในหลักสูตรมาประยุกต์ใช้อย่างผสมผสานได้อย่างเหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์พลวัตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ของท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ โดยองค์ความรู้ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นได้แก่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ กฎหมาย นโยบาย และแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม หลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการมีส่วนร่วมชุมชนในการจัดการ
เชิงท้องถิ่นการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสำหรับปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีในการจัดการของเสียชุมชน เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิสาสตร์ เป็นต้น เพื่อให้มหาบัณฑิตที่จบการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถนำองค์ความรู้
ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในหน่วยงาน และในท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การอนุรักษ์ และเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชน ภูมิภาค และประเทศ อย่างยั่งยืน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2 นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการหรือนักวิจัยด้านการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม เจ้าหน้าที่นโยบายและแผนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานภาครัฐบาล ทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น เช่น สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค อุทยานแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั่วประเทศไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
3 เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือ เอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น ปตท.สผ. บริษัทที่ ปรึษาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
4 ผู้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานเอกชนที่รับงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5 อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและจริยธรรมทางวิชาชีพสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับหน่วยงาน ท้องถิ่น และประเทศ
ELO2 อธิบาย ทฤษฎีและความคิดรวบยอดทางด้านความคิดเชิงระบบ การอนุรักษ์และฟื้นฟู การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ รวมทั้งนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ELO3 ปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเชื่อมโยงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเชิงบูรณาการ
ELO4 เขียนนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับปัญหาเฉพาะถิ่นหรือระดับประเทศ โดยบูรณาการองค์ความรู้อย่างลุ่มลึก
ELO5 สังเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
ELO6 สร้างและประเมินผลผลิตและผลลัพธ์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ELO7 ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม ระบุแนวทางที่ถูกต้องของการเป็นผู้นำการทำงาน ผู้นำชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการ
ELO8 สื่อสารองค์ความรู้ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน ประเทศ และนานาชาติ