คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการ

Master of Engineering Program in Management Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 25,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964255
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยอันสอดคล้องตามวิสัยทัศน์และพันธกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือ บทบาทหน้าที่มหาวิทยาลัยในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ รวมถึงการดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศ เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของสากลโลก โดยได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF : Hed ไว้ 5 ด้านหลัก อันสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ อันได้แก่ (1) คุณธรรม จริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องตามการพัฒนาทักษะของการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ประกอบด้วย สาระวิชา ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและอาชีพ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่กำหนดเหล่านี้ได้ถูกเห็นความสำคัญและถูกกำหนดและบรรจุไว้ในหลักปรัชญาและปณิธานของมหาวิทยาลัยนเรศวร (www.nu.ac.th) ดังนี้ คือ “มหาวิทยาลัยนเรศวร มีอุดมการณ์ มุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้พระราชทานความเป็นไท ความสงบ ความผาสุก แก่ปวงชนชาวไทยมาแล้วในอดีต ดังนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานให้สังคมไทยเป็นไทจากอวิชชา โดยค้นคว้าและสะสมองค์ความรู้เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุข มุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี เพื่อเป็นมรดกของชาติ สืบไป (ปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวร)” “…มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง เป็นศูนย์รวมแหล่งวิทยากรต่างๆ ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะดำรงความเป็นเลิศทางวิชาการและความเป็นสากล ในอันที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อเกื้อหนุนต่อการพัฒนาประเทศ และสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้แบบยั่งยืน มุ่งสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้รอบรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพในทุกสรรพวิทยาการ มีความเป็นสากลทั้งในเชิงเทคโนโลยีและภาษาที่จำเป็นรวมถึงมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ อีกทั้งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจิตใจร่วมพัฒนา (ปรัชญาของมหาวิทยาลัยนเรศวร)” คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะฯ หนึ่งที่ยึดมั่นในการตอบสนองต่อนโยบายมหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของพันธกิจมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ 4 ด้าน อันได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และปรัชญา ดังนี้ “สร้างวิศวกรให้มีคุณภาพและมีคุณธรรม พร้อมพัฒนา และส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัย บริการวิชาการเชิงบูรณาการเพื่อให้บัณฑิตสามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและประเทศที่ยั่งยืนด้วยการบริหารงานยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (วิสัยทัศน์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร)” “มุ่ง – มั่นพัฒนาวิชาการ สู่ – การผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม ความ – รู้สู่สังคมไทย เป็น – ผู้นำด้านวิจัยและเทคโนโลยี เลิศ – ล้ำค่าความเป็นไทยดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม (ปรัชญาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.นเรศวร) ” ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ ปรัชญา และพันธกิจ ที่ได้กำหนดไว้นี้ ทางหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการ และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีความต่อเนื่องกัน ที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ ได้กำหนดปรัชญาของหลักสูตรฯ ให้ชัดเจนและสอดคล้องเป็นไปตามบัญญัติเจ็ดประการที่บัณฑิตพึงประสงค์ของหลักสูตรฯ ที่พึงมีตามแนวทางการเสนอแนะของศาสตราจารย์ นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล (ราชบัณฑิต) ที่ได้เสนอไว้ในการประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “ปรัชญาการอุดมศึกษาไทย” ในวันที่ 24 กันยายน 2551 ที่จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ โดยสิ่งที่บัณฑิตพึ่งต้องมี คือ คุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับของสากล ความประพฤติตามหลักคุณธรรมและจริยธรรม การยึดถือและรักษาวัฒนธรรมไทยอันดีงาม การเรียนรู้ตลอดชีพ การเป็นต้นแบบที่ดีและผู้นำด้านวิชาการของสังคม การยึดถือในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และความรู้และจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ 1.1 ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถทั้งในทฤษฎี ปฏิบัติและการทำวิจัยทางวิศวกรรมการจัดการและสามารถทำงานวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับท้องถิ่นและภาคเหนือร่วมกับผู้ประกอบการ โดยหลักสูตรเน้นการบริหารจัดการงานทางด้านวิศวกรรม เพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพธุรกิจด้านอุตสาหกรรมและบริการให้ก้าวไปสู่ระดับประเทศ และระดับนานาชาติต่อไป 1.2 ความสำคัญ จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของยุทธศาสตร์ระดับชาติในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะมาเป็นกำลังแรงานสำคัญในการพัฒนาอุตสหกรรมของประเทศ ดังนั้น ในการผลิตบุคลากร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตสังคมและประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามสารถ และทักษะเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิตอล ที่มีความผันผวนในการเปลี่ยนแปลงสูง ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน ดังนั้น จึงเป็นบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีพันธกิจที่สำคัญในการผลิตบัณฑิต ในระดับการศึกษาขั้นสูง (มหาบัณฑิต) ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ อันได้แก่ 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills) อันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสากลโลก ในการปรับปรุงหลักสูตรฯ ในครั้งนี้ต้องการสร้างอัตลักษณ์นิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวรให้ครบถ้วน คือเป็นทั้ง คนดี คนเก่ง คนมีวินัย และคนที่ภูมิใจในชาติ และได้ยึดถือปฏิบัติตามนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้หลักสูตรมีความเป็นสากล (Internationalization) มีการสร้างและใช้นวัตกรรม (Innovation) ทั้งในด้านความรู้และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมในการประกอบวิชาชีพของบัณฑิตในอนาคต และมีการบูรณาการ (Integration) ในศาสตร์ของสาขาวิชาร่วมกับศาสตร์ที่อื่นเกี่ยวข้อง รวมถึงการเป็นบัณฑิตที่มีความถึงพร้อมและยึดมั่นในหลักคุณธรรมจริยธรรม (Integrity) ซึ่งปรัชญาหลักสูตรใหม่ที่ได้บัญญัติไว้ 7 ประการนี้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งสามารถแสดงได้ดังตารางข้างล่างนี้ ตารางแสดงความสอดคล้องของปรัญากับนโยบายของมหาวิทยาลัย ปรัชญา: บัญญัติ 7 ประการคุณลักษณะบัณฑิต ที่พึงประสงค์ อัตลักษณ์นิสิต นโยบาย มหาวิทยาลัย 1. การผลิตบัณฑิตให้มีคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการของผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ :คนเก่ง :Internationalization 2. การผลิตบัณฑิตให้มีความประพฤติที่ดีที่สอดคล้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม รวมถึงยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ :คนดี, คนภูมิใจในชาติ :Integrity 3. การผลิตบัณฑิตให้มีความตระหนักในคุณค่าและยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมและอารยธรรมสากลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทยและมีทักษะอันพึงประสงค์ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต การให้เกียรติผู้อื่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เป็นต้น :คนมีวินัย, คนภูมิใจในชาติ :Internationalization, Integrity 4. การผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีพ สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ สามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งในศาสตร์ของตนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ที่ได้มาจากการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม สามารถอภิปรายด้วยหลักเหตุและผลที่ยอมรับได้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา จนกระทั่งเข้าใจในโจทย์ปัญหาแล้วสามารถนำมาค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสมและมีเหตุผล หรือนำหลักการทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในงานได้ :คนเก่ง :Internationalization, Innovation, Integration 5. การผลิตบัณฑิตให้เป็นต้นแบบที่ดีหรือแบบอย่างที่ดีในสังคมในการเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับสังคม รวมถึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ต่างๆ ในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ :คนดี, คนเก่ง: Integrity, Innovation, Integration, 6. การผลิตบัณฑิตให้ยึดมั่นและมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข :คนดี, คนภูมิใจในชาติ :Integrity, 7. การผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจและการพาณิชย์ การเสริมสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ อันจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนเองต่อไปในอนาคต :คนเก่ง :Integration ในการพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้ ต้องการผลิตมหาบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง ซึ่งสามารถประกอบวิชาชีพได้ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม มาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพเป็นนักวิจัยขั้นสูงที่สามารถผลิตองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมการจัดการและวิศวกรรมอุตสาหการ ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในระดับสูงให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ 1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตมหาบัณฑิต ให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาด้านวิศวกรรมการจัดการในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และสามารถนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้ 2. มีทักษะความสามารถในการวิจัยและพัฒนางานทางด้านวิศวกรรมการจัดการให้ก้าวหน้าเพื่อผลิตผลงานทางวิชาการและวิจัยที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ 3. เป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมในด้านคุณธรรมจริยธรรมและสำนึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. อาชีพนักบริหารงาน ทั้งในส่วนทรัพยากรองค์กรและระบบการดำเนินงานในโรงงานอุตสาหกรรม และสามารถประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมบริการ อันได้แก่  

1) ผู้จัดการ ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงในองค์กร ที่กำกับดูแลและการบริหารจัดการในด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการดำเนินงานในธุรกิจทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ 

2) ฝ่ายปรึกษาธุรกิจในด้านการจัดการโรงงานอุตสาหกรรม

3) ผู้จัดการด้านวิศวกรรมและผู้จัดการโครงการ

4) ผู้บริหารด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

5) เจ้าของกิจการและผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม

2. อาชีพวิศวกร อันได้แก่  

1) วิศวกรระบบ หรือวิศวกรการจัดการ

2) วิศวกรฝ่ายออกแบบและควบคุมการผลิต วิศวกรอุตสาหการ และวิศวกรการผลิต 

3) วิศวกรโลจิสติกส์  

4) วิศวกรฝ่ายสนับสนุนการผลิต เช่น วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรคุณภาพ เป็นต้น    

5) วิศวกรฝ่ายออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 

6) นักเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

3. อาชีพนักวิจัยและนักวิชาการ อันได้แก่  

1) อาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมการจัดการ 

2) นักวิจัยในมหาวิทยาลัย องค์กร หรือ หน่วยงานต่างๆ 

3) นักเขียน นักวิชาการอิสระ วิทยากร และผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการอุตสาหกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรมอุตสาหการและวิศวกรรมการจัดการ  



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 : คุณธรรม จริยธรรม สามารถปฏิบัติตนให้มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงสามารถวินิจฉัยและจัดการปัญหาที่ซับซ้อน โดยยึดถือตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางด้านวิชาการ วิชาชีพและวิจัย

ELO2 : ความรู้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมการจัดการและหลักการการวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา และสามารถจัดกลุ่มและเลือกใช้องค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาได้

ELO3 : ทักษะทางปัญญา สามารถศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพ และดำเนินการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อสรุป และสามารถนำมาสังเคราะห์และบูรณาการในการใช้ประโยชน์ร่วมกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ และสามารถพัฒนางานด้านนวัตกรรมหรือการสร้างองค์ความรู้ใหม่ 

ELO4 : ทักษะการทำงานเป็นทีม และการบริหารงาน สามารถวางแผนและปฏิบัติงานด้วยตนเองและร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งงานในวิชาชีพหรือสหวิชาชีพ และสามารถบริหารงานได้โดยมีทักษะความเป็นผู้นำที่รับผิดชอบ ตัดสินใจและร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาการและวิชาชีพได้อย่างเหมาะสมตาม โอกาสและสถานการณ์

ELO5 : ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถเลือกใช้หรือสร้างวิธีการ การประมวลผล การคำนวณ การพยากรณ์ การจำลองสถานการณ์ และเทคนิควิธีการทางสถิติ รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในสาขาวิชาชีพและการวิจัยได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม

ELO6 : ทักษะการสื่อสาร สามารถสื่อสารในด้านการฟัง พูด อ่านและเขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อการแสวงหาความรู้ และสามารถนำเสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้และผลงานทางวิชาการและวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม กับโอกาสและ สถานการณ์