คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

Doctor of Education Program in Educational Administration


จำนวนรับเข้าศึกษา
10 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 50,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962432
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา 2. ผู้บริหารการศึกษา 3. บุคลากรทางการศึกษา 4. คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

ปรัชญาของหลักสูตร
    ผู้บริหารทางการศึกษาเป็นต้นแบบของผู้นำสามารถค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางการศึกษา ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพการบริหารจัดการและคุณภาพการศึกษาทั้งระบบและสังคมไทยให้เจริญอย่างยั่งยืน
ความสำคัญของหลักสูตร
    หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จะช่วยสร้างและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้นำทางการศึกษา มีสมรรถนะและเป็นนักบริหารมืออาชีพ เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการบริหาร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาของชาติ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. ผู้บริหารสถานศึกษา

2. ผู้บริหารการศึกษา

3. บุคลากรทางการศึกษา

4. คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา 


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 ประพฤติปฏิบัติตนที่แสดงถึงความเป็นผู้นำทางการศึกษา สามารถคิด ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและวิชาการ และเหมาะสมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

ELO2 อธิบายหลักการ ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษายุคใหม่ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ วิพากษ์ตามหลักวิชาการ สามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎี และสร้างแนวคิดใหม่ทางการบริหารการศึกษา

ELO3 สามารถออกแบบ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางการศึกษา ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคุณภาพการบริหารจัดการและคุณภาพการศึกษา

ELO4 สามารถพูด ถ่ายทอด นำเสนอ และสร้างการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจ จูงใจ สร้างการยอมรับและความร่วมมือกับผู้อื่น และสามารถการทำงานกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตาม 

ELO5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เพื่อการวางแผนและตัดสินใจในการบริหารจัดการศึกษา