คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา

Doctor of Philosophy Program in Educational Research and Evaluation


จำนวนรับเข้าศึกษา
5 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 50,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962432
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    นิสิตที่สำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพ 1. อาจารย์หรือผู้สอนในสถาบันระดับอุดมศึกษาทางด้านสาขาวิจัยทางการศึกษาและทางด้านสังคมศาสตร์ วัดและประเมินทางการศึกษาและทางสังคมศาสตร์ หรือสอนทางด้านสถิติ 2. นักวิชาการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการศึกษาหรือหน่วยงานทางสังคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือสาธารณสุข 3. บุคลากรทางการศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาประเภทอื่น เป็นต้น 4. นักวิจัยและนักประเมินอิสระ

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของความเชื่อเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ ว่าเป็นผู้มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้มีจิตใจใฝ่รู้ (Research mind) สามารถที่จะเสาะแสวงหาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ท่ามกลางบริบทของสังคมโลกและสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างเป็นอิสระ และพึ่งพาความคิดของตนเองได้ทางวิชาการ โดยตระหนักถึงการใช้วิธีการแสวงหาความรู้และนาความรู้ที่ได้รับไปใช้ ให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพและรับผิดชอบต่อสังคม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา จึงมุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษาที่มีคุณภาพ มีองค์ความรู้และประสบการณ์ในลักษณะที่เป็นผู้รู้จริงและปฏิบัติได้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน และจัดการปัญหาและชี้ให้เห็นข้อบกพร่องด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษาที่ซับซ้อนในบริบททางวิชาการอย่างผู้รู้ด้วยความยุติธรรมและชัดเจน มีหลักฐาน โดยแสดงออกหรือสื่อสารข้อสรุปปัญหา โดยคานึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบ และจรรยาบรรณวิชาชีพโดยใช้ดุลยพินิจที่เหมาะสม และมีพฤติกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี สามารถใช้ความรู้ทางการวิจัยและประเมินทางการศึกษาในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ สามารถพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาของประเทศ โดยบูรณาการศาสตร์ทั้งความรู้และทักษะ นาไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งในองค์ความรู้ที่เป็นแก่นในสาขาวิชาการ หรือวิชาชีพทางด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษา สามารถออกแบบและดาเนินการโครงการวิจัยที่สาคัญในเรื่องที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษา หรือปรับปรุงแนวปฏิบัติในวิชาชีพอย่างเหมาะสม และสามารถสร้างและเสนอกรอบความคิดหรือกระบวนทัศน์ใหม่ทางด้านวิจัยและประเมินทางการศึกษาที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ในลักษณะสหวิทยาการ หรือพหุวิทยาการที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ บุคคลที่จะเป็นผลผลิตของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา จึงต้องเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะดังข้อสรุปที่ว่า “นักวิจัยและประเมินทางการศึกษาที่ใฝ่รู้ ควบคู่คุณธรรม นาทางพัฒนาการศึกษา” หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่ผลิตทรัพยากรบุคคลที่เป็นกาลังคนขั้นสูงของประเทศด้านการวิจัยและประเมินทางการศึกษา ที่มีองค์ความรู้ด้านการวิจัยและประเมินทางการศึกษา ความสามารถในการวิจัย ประเมินผลและสถิติสาหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวิจัย และเป็นผู้มีความรับผิดชอบมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาชีพด้านการวิจัยและประเมินทางให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรทุกระดับ
ความสำคัญของหลักสูตร
    มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ 1. เป็นผู้มีความรอบรู้ และมีคุณธรรม มีความเชี่ยวชาญทางการวิจัยและประเมินทางการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนและประเทศ 2. เป็นผู้มีความรักในวิชาชีพ มีจิตใจมุ่งมั่นในการวิจัยและประเมินทางการศึกษา เพื่อค้นหาและนาความรู้ที่ได้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและงานที่รับผิดชอบ 3. เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านการวิจัยและประเมินทางการศึกษา 4. เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ทางด้านการวิจัยและประเมินทางการศึกษา 5. เป็นผู้ที่สามารถสร้างเครือข่ายนักวิชาการทางด้านการวิจัยและประเมินทางการศึกษา ตลอดจนสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1. อาจารย์หรือผู้สอนในสถาบันระดับอุดมศึกษาทางด้านสาขาวิจัยทางการศึกษาและทางด้านสังคมศาสตร์ วัดและประเมินทางการศึกษาและทางสังคมศาสตร์ หรือสอนทางด้านสถิติ
2. นักวิชาการที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางการศึกษาหรือหน่วยงานทางสังคม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือสาธารณสุข
3. บุคลากรทางการศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาประเภทอื่น เป็นต้น
4. นักวิจัยและนักประเมินอิสระ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

K : มีองค์ความรู้ในสาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และทาวิทยานิพนธ์ได้

S : มีทักษะในการดาเนินการทาวิทยานิพนธ์ได้ด้วยตนเอง

A : ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมีจริยธรรมของนักวิจัยและประเมินทางการศึกษา