คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Doctor of Philosophy Program in Natural Resources and Environment


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 35,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962757
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรถูกพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความความรอบรู้ ลุ่มลึกและเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการวิจัยขั้นสูงที่สร้างความสามารถในประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีแนวคิดเชิงระบบ มีการบูรณาการศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อต่อยอดและสร้าง องค์ความรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรม และศาสตร์ทางสังคมและนโยบายเพื่อวางแผน บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติและระดับสากล มีการปรับปรุงให้มีเนื้อหาที่มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์และนโยบายปัจจุบันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) มีการบูรณาการศาสตร์ทางนิเวศ สังคมและการมีส่วนร่วมในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นกำลังคนของประเทศและพลเมืองโลกที่มีความรู้ขั้นสูง มีทักษะอย่างเชี่ยวชาญในการวิจัยสามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ มีความลุ่มลึกในความรู้และก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถนำมาต่อยอดและบูรณาการในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือกระบวนทัศน์ใหม่ด้าน การอนุรักษ์ บำบัดฟื้นฟู การแก้ไขปัญหา การวางแผน และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค ประเทศ และสากลได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อสังคม มีธรรมาภิบาล และพร้อมรับต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก หลักสูตรมีความมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ ดังนี้ “ยึดมั่นจรรยาบรรณ ลุ่มลึกศาสตร์ทรัพยากร เชี่ยวชาญการวิจัยเชื่อมโยงชุมชนและท้องถิ่นสร้างการเรียนรู้และก้าวทันโลก”
ความสำคัญของหลักสูตร
     มหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในเขตร้อนชื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย ประกอบด้วย ทรัพยากรเชิงนิเวศและพื้นที่อนุรักษ์จำนวนมาก ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญของประเทศพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น อ้อย ข้าว พืชสวน พืชเมืองหนาวและเกษตรกรรมทางเลือกรวมทั้งมีพื้นที่อุตสาหกรรมเฉพาะมีศักยภาพและมีปัญหาระดับสากลด้านการสำรวจปิโตรเลียม เหมืองแร่ และโรงไฟฟ้าชีวมวล บุคลากรของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยนักวิจัย ครอบคลุมในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยพื้นฐาน การวิจัยประยุกต์ การวิจัยเชิงพื้นที่และการวิจัยแบบมีส่วนร่วมที่สอดคล้องกับทรัพยากรและตอบโจทย์ปัญหาในเชิงพื้นที่ หลักสูตรมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างหลายภาคส่วน ได้แก่ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งนิสิตต่างชาติเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกแบบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาการเรียนการสอนและการวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมายกระดับฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่เข้มแข็งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 มุ่งสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลักสูตรมุ่งสร้างบัณฑิตมีทักษะการบูรณาการศาสตร์ทางนิเวศ สังคมและการมีส่วนร่วมผสานแนวคิดตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศ การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และการจัดการน้ำและสุขาภิบาล เป้าหมายด้านสังคม ได้แก่ แผนการบริโภค และผลิตอย่างยั่งยืน แผนเมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน และแผนการมีการศึกษาที่เท่าเทียมร่วมกับแผนด้านการจัดการ ในการสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1 อาจารย์

2 นักวิจัย นักวิชาการ และนักวิทยาศาสตร์ในภาครัฐหรือภาคเอกชน

3 พนักงานราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ

4 องค์กรเอกชนและองค์กรภาคประชาชน

5 ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 ปฏิบัติตัวตามหลักคุณธรรม จริยธรรม แนวทางจรรยาบรรณวิชาชีพและจริยธรรมการวิจัย ไม่คัดลอกผลงาน ไม่ปรับแต่งข้อมูล ไม่บิดเบือนข้อมูล และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ELO2 สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจนมีความลุ่มลึกและเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นสากลได้โดยอิสระ  

ELO3 สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมจากการวิจัยที่มีผลกระทบสูงในการยกระดับฐานทรัพยากรและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้โดยการบูรณาการกับฐานคุณค่าวัฒนธรรมและทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ELO4 สามารถสื่อสารเพื่อแสดงความคิดเห็นและแนวคิดริเริ่มทางวิชาการระดับแนวหน้าเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร ระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคได้อย่างเชี่ยวชาญและเป็นสากล

ELO5 สามารถสังเคราะห์องค์ความรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับชาติและระดับสากล