คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร

Doctor of Philosophy Program in Agricultural Science


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 35,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962748
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรมีการพัฒนาให้ตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านกำลังคนที่มีความรู้ ความเป็นเลิศ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการผลิตและเพิ่มมูลค่าเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง เศรษฐกิจและสังคมมีความมั่นคงและยั่งยืน และผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบและสันติสุขรวมทั้งมุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

ปรัชญาของหลักสูตร
    มุ่งเน้นการค้นคว้าวิจัยเชิงลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชาติ และมีความสมดุลกับสังคมที่อุดมด้วยปัญญา คุณธรรม จริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความสำคัญของหลักสูตร
    การพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่ได้วางแผนระยะยาว 20 ปี นั้น เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรภายใต้แนวคิดการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อก้าวเข้าสู่การแข่งขันเศรษฐกิจในระดับโลก ภายใต้การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมการเกษตรนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าว คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565 เพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว เป็นการต่อยอดหลักสูตร พ.ศ. 2560 โดยเน้นการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของผลงานวิจัย ผ่านกระบวนการจัดการเรียนสอนตามรายวิชาและการทำวิทยานิพนธ์
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1  บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชและสัตว์ รวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต   ทางด้านการเกษตร เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในสถาบันการศึกษา 

2  หน่วยงานราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมข้าว กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เป็นต้น 

3  เป็นนักวิจัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทางการเกษตร 

4  นักวิชาการเกษตรในหน่วยงานกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสินค้าการเกษตร 

5  การประกอบอาชีพส่วนตัว ประกอบธุรกิจทางการเกษตร  



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1  ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพนักวิจัย 

ELO2  กำหนดหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตร

ELO3  สร้างสรรค์งานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร

ELO4  แสดงออกถึงความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นร่วมกับผู้อื่น 

ELO5  ประยุกต์ใช้สถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตร

ELO6  สื่อสารงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตรสามารถด้วยใช้เทคโนโลยีและสื่อสารภาษาอังกฤษ 

ELO7 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า การวิจัย และการนำเสนอผลงาน