คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์

Bachelor of Science Program in Geography


จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962757
E-mail: sanonoif@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    เป็นหลักสูตรผลิตนักภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นอิสระ และหลากหลาย มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่อย่างบูรณาการ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นงานวิชาการ โปรแกรมวิเคราะห์ที่ตั้งและพื้นที่ และออกแบบและวางแผนระบบพื้นที่

ปรัชญาของหลักสูตร
    มีความรอบรู้พื้นที่อย่างบูรณาการ เป็นอิสระและหลากหลาย สร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ
ความสำคัญของหลักสูตร
    ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตของโลก ทั้งการขยายตัวและเปลี่ยนระบบห่วงโซ่คุณค่าทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนรูปแบบสังคม-วัฒนธรรม จำเป็นต้องใช้ฐานความรู้ ความคิด ปัญญา ทักษะ เครื่องมือ เทคโนโลยี และสารสนเทศ ทั้งแบบเดิมที่มีอยู่และแบบใหม่ที่ต้องได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ในขณะนั้น หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ เป็นหลักสูตรที่ทำการผลิตแรงงานปัญญาด้านภูมิศาสตร์และแรงงานที่มีทักษะด้านภูมิสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคที่มีการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น องค์กรภาครัฐ ธุรกิจ และเอกชน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างแรงงานเหล่านั้นให้เป็นนักภูมิศาสตร์ที่มีความเป็นอิสระและหลากหลาย มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่อย่างบูรณาการ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นงานวิชาการ โปรแกรมวิเคราะห์ที่ตั้งและพื้นที่ และออกแบบและวางแผนระบบพื้นที่ รวมถึงการใช้สารัตถะในหลักสูตรฯ เพื่อเป็นฐานวิชาการสำหรับพัฒนางานวิจัยทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภูมิภาคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงใช้เป็นฐานวิชาการสำหรับสร้างงานบริการวิชาการแก่ชุมชนต่อไป
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. นักวิชาการภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ และ/หรือ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงาน ในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรท้องถิ่น และสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 

2. ที่ปรึกษาด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน

3. นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินผลกระทบและจัดทำแผนป้องกันฟื้นฟู 

4. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญทางด้านทำแผนที่ การจัดการข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและดาวเทียมกำหนดพิกัดโลก การพัฒนาโปรแกรมภูมิสารสนเทศ ทำงานให้กับภาคธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ องค์การมหาชน และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ 

5. ผู้ประกอบการอิสระที่มีความเชี่ยวชาญในด้านภูมิสารสนเทศและนวัตกรรม ที่สามารถใช้แบบจำลองและแนวความคิดทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์เป็นกรอบและเครื่องมือในการทำงาน


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1: ฝึกฝนให้เป็นผู้รอบรู้ มีทักษะ มีความเพียร อดทนอดกลั้น ชื่นชมความสำเร็จ ซื่อสัตย์ คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เอื้ออาทร และเสียสละเพื่อส่วนรวม และสร้างเสริมความรู้และเข้าใจ และชื่นชมต่อความสัมพันธ์ระหว่างภูมิศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม

ELO2: พัฒนาความถนัดทางภูมิศาสตร์เพื่อให้สามารถดำรงตำแหน่งผู้นำในภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานรัฐ และองค์กรวิชาชีพ และความเป็นผู้ประกอบการ

ELO3: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์กายภาพ การกระจายของภูมิลักษณ์และระบบนิเวศในส่วนต่างๆ ของโลก และบทบาทของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อประชากรมนุษย์

ELO4: อธิบายกระบวนการภูมิศาสตร์มนุษย์ การรวมกลุ่มและกระจายของภูมิทัศน์และระบบนิเวศชุมชนในภูมิภาคต่างๆ และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมและประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการรับรู้และการจัดการสถานที่และภูมิภาค

ELO5: อ่านและแปลความหมาย สร้างแผนที่และสิ่งนำเสนอทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ และนำเสนอสารสนเทศด้วยมุมมองเชิงพื้นที่ได้

ELO6: เขียนและพัฒนาโปรแกรม นวัตกรรมการจัดการภูมิสารสนเทศ การวิเคราะห์ และการแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้ รวมถึงสามารถนำเอาระบบวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้กับภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ELO7: ใช้ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ โดยบูรณาการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมมนุษย์ และระบบเศรษฐกิจของท้องถิ่นและโลก ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ใช้หลักการภูมิศาสตร์มาทำความเข้าใจสภาพปัจจุบัน และวางแผนเพื่ออนาคตได้

ELO8: กำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการวิจัยด้านภูมิศาสตร์กายภาพ และภูมิศาสตร์มนุษย์ โดยใช้วิธีการเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมจากข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ และ/หรือกำหนดปัญหา ทบทวนวรรณกรรม พัฒนาและดำเนินการสร้างนวัตกรรมภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ

ELO9: นำเสนอผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมด้านภูมิศาสตร์ และภูมิสารสนเทศศาสตร์ด้วยการบรรยาย ระเบียบวิธีวิจัย กระบวนการขั้นตอน ผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอภิปรายผล ในรูปแบบนำเสนอปากเปล่า และการเขียนบทความวิชาการ 

ELO10: ปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ หรือเอกชน โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะต่างๆ ด้านภูมิศาสตร์จากการเรียนในหลักสูตร เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วง พร้อมทั้งใช้ความสามารถในการร่วมแก้ปัญหาในองค์กรที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับองค์กรนั้น