คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์

Bachelor of Science Program in Animal Science and Feed Technology


จำนวนรับเข้าศึกษา
45 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962748
E-mail: anyaneek@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานความรู้ด้านสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์

ปรัชญาของหลักสูตร
    สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ คือ ความก้าวหน้าและความยั่งยืนของการผลิตปศุสัตว์
ความสำคัญของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ มุ่งเน้นการให้การศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับชาติ เพื่อสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในด้านการผลิตสัตว์ และการผลิตอาหารสัตว์ อย่างรอบด้าน และมีศักยภาพในการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์และการปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. นักวิชาการสัตวบาล (การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การผสมเทียม อาหารสัตว์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์) 

2.นักวิชาการส่งเสริม 

3. สัตวบาลประจำฟาร์ม 

4. ผู้แทนขายในธุรกิจปศุสัตว์ 

5. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ 

6. นักวิชาการเกษตรประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

7. เจ้าหน้าที่สินเชื่อการเกษตร 

8. นักวิจัย รวมทั้งศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    ELO 1 อธิบายหลักการ ทฤษฎีและทักษะทางด้านวิชาการด้านการผลิตปศุสัตว์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ ELO 2 แสดงความคิดสร้างสรรค์และบูรณาการความรู้ในการทำวิจัย ทางด้านสัตวศาสตร์ และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ELO 3 แสดงภาวะความเป็นผู้นำ เสียสละ มุ่งมั่น เพื่อส่วนรวม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ELO 4 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพและวิชาการ แสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมาย ELO 5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ELO 1 อธิบายหลักการ ทฤษฎีและทักษะทางด้านวิชาการด้านการผลิตปศุสัตว์และเทคโนโลยีอาหารสัตว์

ELO 2 แสดงความคิดสร้างสรรค์และบูรณาการความรู้ในการทำวิจัย ทางด้านสัตวศาสตร์

และเทคโนโลยีอาหารสัตว์ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

ELO 3 แสดงภาวะความเป็นผู้นำ เสียสละ มุ่งมั่น เพื่อส่วนรวม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น

และยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

ELO 4 ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาชีพและวิชาการ แสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมาย

ELO 5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์

และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ