คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

Bachelor of Engineering Program in Industrial Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
80 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964255
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มีปรัญชญาหลักสูตรที่สะท้อนถึงหลักปรัญชาของคณะวิศวกรรมศาสตรในข้างต้น เป็นหลักสูตรที่มีหลักปรัญชาการศึกษาที่ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามบทบัญญัติ 7 ประการ คือ 1) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้มีคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับในระดับสากล อันตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการของผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ 2) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้มีความประพฤติที่ดีที่สอดคล้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรม เข้าใจ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมไทยอันดีงาม รวมถึงยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ 3) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้มีความตระหนักในคุณค่าและยึดถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมและอารยธรรมสากลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมไทยและมีทักษะอันพึงประสงค์ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต การให้เกียรติผู้อื่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เป็นต้น 4) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้เป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีพ สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ สามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยทั้งในศาสตร์ของตนและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ที่ได้มาจากการพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เดิม สามารถอภิปรายด้วยหลักเหตุและผลที่ยอมรับได้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหา จนกระทั่งเข้าใจในโจทย์ปัญหาแล้วสามารถนำมาค้นหาเพื่อให้ได้คำตอบที่เหมาะสมและมีเหตุผล หรือนำหลักการทฤษฎีต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในงานได้ 5) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้เป็นต้นแบบที่ดีหรือแบบอย่างที่ดีในสังคมในการเป็นผู้นำทางวิชาการให้กับสังคม รวมถึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง ชุมชน สังคมและประเทศชาติ 6) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้ยึดมั่นและมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 7) การผลิตบัณฑิตวิศวกรอุตสาหการให้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจและการพาณิชย์ การเสริมสร้างให้มีจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ อันจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพของตนเองต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1 วิศวกรอุตสาหการในทุกองค์กร ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการ

2 วิศวกรควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม

3 วิศวกรความปลอดภัย 

4 วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต

5 วิศวกรฝ่ายขาย

6 วิศวกรออกแบบ

7 วิศวกรประเมินโครงการ

8 วิศวกรด้านโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน

9 วิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต

10 วิศวกรการจัดการ

11 วิศวกรฝ่ายจัดซื้อ

12 วิศวกรโรงงาน

13 วิศวกรปรับปรุงเพิ่มผลผลิต



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1: ความรู้ด้านวิศวกรรม สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความรู้พื้นฐานและเฉพาะทางด้านวิศวกรรม เพื่อใช้ในการหาคำตอบและแก้ปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมอุตสาหการ 

ELO2: การวิเคราะห์ปัญหา สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์ วิจัยสืบค้น และวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมอุตสาหการที่ซับซ้อน เพื่อให้ได้ข้อสรุปของปัญหาที่มีนัยสำคัญ โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และศาสตร์ทางด้านวิศวกรรม 

ELO3: การออกแบบ/การพัฒนาหาคำตอบของปัญหา สามารถออกแบบ/พัฒนาหาคำตอบของปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมอุตสาหการ และทำการออกแบบระบบ ส่วนประกอบ หรือกระบวนการต่างๆ ตามความจำเป็น โดยคำนึงถึงข้อพิจารณาที่เหมาะสมในด้านสาธารณสุข ความปลอดภัย วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม 

ELO4: การสืบค้น สามารถดำเนินการสืบค้นหาคำตอบของปัญหาที่ซับซ้อน ทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยการศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัย การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) หรือการวิจัย (Research method) เพื่อให้ได้ข้อสรุปคำตอบของปัญหาที่น่าเชื่อถือ 

ELO5: การใช้เครื่องมือทันสมัย สามารถสร้าง เลือกและประยุกต์ใช้เทคนิค ทรัพยากร และเครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพยากรณ์และการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ของปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมอุตสาหการ โดยคำนึงถึงเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ 

ELO6: วิศวกรกับสังคม สามารถอธิบายบทบาทของวิศวกรที่มีต่อสังคมและใช้หลักการ เหตุและผล ในการประเมินประเด็นและผลกระทบด้านสังคม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย กฏหมายและวัฒนธรรม ที่เกี่ยวพันกับการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ 

ELO7: สิ่งเเวดล้อมเเละความยั่งยืน สามารถอธิบายถึงผลกระทบของคำตอบของปัญหาที่ซับซ้อนทางวิศวกรรมอุตสาหการ ที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน 

ELO8: จรรยาบรรณวิชาชีพ สามารถอธิบายและประยุกต์ใช้หลักจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ในงานวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ

ELO9: การทำงานเดี่ยวเเละทำงานเป็นทีม สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองและทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งในฐานะผู้ร่วมทีมหรือผู้นำทีม และทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้

ELO10: การสื่อสาร สามารถสื่อสารงานวิศวกรรมที่ซับซ้อนให้กับกลุ่มผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมและสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งโดยวาจา (นำเสนอ) และลายลักษณ์อักษร (เขียน) รวมถึงมีความสามารถในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ที่มีประสิทธิผล

ELO11: การบริหารโครงการเเละการเงินการลงทุน สามารถอธิบายและประยุกต์ใช้หลักการการบริหารงานกับงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ภายใต้การทำงานร่วมกันกับสหสาขาวิชาทั้งในฐานะผู้ร่วมทีมหรือผู้นำทีม และสามารถตัดสินใจในการบริหารงานโครงการที่อยู่บนพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์

ELO12: การเรียนรู้ตลอดชีพ สามารถศึกษาค้นคว้าในประเด็นต่างๆ ที่สนใจและความรู้อย่างต่อเนื่อง อันสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม เพื่อใช้เป็นความรู้และพัฒนาตนเองในวิชาชีพต่อไป