คณะศึกษาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา

Bachelor of Education Program in Biology


จำนวนรับเข้าศึกษา
30 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 15,000/ภาคการศึกษา


ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962433
E-mail: acadedu@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    นิสิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ 1. ข้าราชการครู 2. ครูในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน 3. ครูอัตราจ้างในสถานศึกษาต่าง ๆ 4. นักวิชาการศึกษา 5. นักปฏิบัติการทดลองทางชีววิทยา 6. นักปฏิบัติการในองค์กรปฏิบัติการด้านพฤกษศาสตร์ หรือด้านสัตววิทยา หรือด้านพันธุศาสตร์ หรือด้านสิ่งแวดล้อม

ปรัชญาของหลักสูตร
    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความเชื่อว่าการพัฒนาครูที่มีคุณภาพจะต้องเปี่ยมด้วยคุณธรรม ความรู้ มีความเป็นผู้นำทางปัญญา มีความเป็นกัลยาณมิตร มีความสามารถในการสื่อสารและ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา จะต้องพัฒนาและผลิตบัณฑิตที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้านแนวคิด ทฤษฎี หลักการและทักษะกระบวนการของศาสตร์ทางด้านชีววิทยาอย่างลึกซึ้ง และมีความเข้มแข็งทางวิชาชีพครู สามารถผสานบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ก่อเกิดความเจริญงอกงามอย่างสมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ภายใต้กรอบของคุณธรรมและจริยธรรม หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา จึงมุ่งพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรมมีความรู้ความสามารถด้านองค์ความรู้วิชาชีววิทยาอย่างมีคุณธรรม มีทักษะการสอนชีววิทยา ตามแนวปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งความสามารถในการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนชีววิทยา
ความสำคัญของหลักสูตร
    1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม จิตวิญญาณความเป็นครู และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม 2. มีความรอบรู้ในหลักการแนวคิด ทฤษฎี เนื้อหา กระบวนการ และความก้าวหน้าในศาสตร์วิชาชีพครู และสาขาวิชาชีววิทยา อย่างลึกซึ้งและเป็นระบบ 3. เป็นผู้มีความสามารถสูงในการบูรณาการข้ามศาสตร์ และมีความตระหนักถึงคุณค่าของ การใช้วิถีทางปัญญาในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหา 4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองและผู้อื่น ในการทำงานและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร และในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง 5. สามารถใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน เทคโนโลยีสารสนเทศ และคณิตศาสตร์และสถิติพื้นฐาน ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล และการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตและการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และเชี่ยวชาญในทักษะการจัดการเรียนการสอน และสร้างนวัตกรรมวิชาชีววิทยาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1. ข้าราชการครู
2. ครูในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน
3. ครูอัตราจ้างในสถานศึกษาต่าง ๆ 
4. นักวิชาการศึกษา
5. นักปฏิบัติการทดลองทางชีววิทยา
6. นักปฏิบัติการในองค์กรปฏิบัติการด้านพฤกษศาสตร์ หรือด้านสัตววิทยา หรือด้านพันธุศาสตร์ หรือด้านสิ่งแวดล้อม


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

1. ความรอบรู้ เข้าใจ มนุษย์ สังคม ความรู้หลักการวิชาชีพครูและองค์ความรู้ชีววิทยา พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคมศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นครู จิตวิทยา

2. ความรู้ชีววิทยา สามารถพัฒนาหลักสูตร จัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลชีววิทยา และมีความเป็นครู

3. ความรู้ชีววิทยา สามารถใช้ภาษา เทคโนโลยีดิจิทัล สร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์/ชีววิทยา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

4. มีความรู้หลักการในศาสตร์วิชาชีพครูและสาขาวิชาชีววิทยา การบูรณาการข้ามศาสตร์ สามารถประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะและความเชี่ยวชาญในทักษะการจัดการเรียนรู้และการสร้างสรรค์นวัตกรรมวิชาชีววิทยา และมีคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความเป็นครู และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม