คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม

Bachelor of Science Program in Architectural Technology


จำนวนรับเข้าศึกษา
20 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 25,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962467
E-mail: nan25_2529@hotmail.com
จุดเด่นของหลักสูตร
    บูรณาการความรู้ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีก่อสร้าง ผ่านเทคโนโลยี BIM เพื่อพัฒนาสู่นักออกแบบมืออาชีพ

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง เพื่อให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและการออกแบบก่อสร้างอาคาร สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร การบริหารงานก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมยั่งยืน ตลอดจนมุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
    เพื่อผลิตบัณฑิตมีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและการออกแบบก่อสร้างอาคาร สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร การบริหารงานก่อสร้าง การจัดการทรัพยากรอาคาร และสถาปัตยกรรมยั่งยืน ตลอดจนมุ่งเน้นให้บัณฑิตสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. ผู้ช่วยสถาปนิก (Architectural Assistant)
2. ช่างเขียนแบบ (Draftman)
3. ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง (Construction Supervisor)
4. ผู้รับเหมาก่อสร้าง (Builder)
5. ผู้บริหารโครงการก่อสร้าง (Construction Project Manager)
6. ผู้ประสานงานระบบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM Modeler/Coordinator)
7. นักวิจัยด้านสารสนเทศอาคาร (Research and Development Architect)
8. สาขาวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างอาคาร


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริตต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ และมีความ
รับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม

ELO2 สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัยด้านเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง สามารถบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคาร การบริหารงานก่อสร้าง การจัดการ
ทรัพยากรอาคาร และสถาปัตยกรรมยั่งยืน ควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงภายใต้บริบทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
ELO3 สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาดแรงงาน มีความพร้อมในการปฏิบัติวิชาชีพด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง และการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ELO4 มีภาวะความเป็นผู้นำ หรือผู้ตามที่ดี สามารถปรับตัวให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างบุคคลได้ มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารและนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ELO5 มีความสามารถนำการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เพื่อการออกแบบและนําเสนอผลงานมาใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์กระบวนการทำงานได้อย่างเหมาะสม