คณะมนุษยศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

Bachelor of Arts Program in Thai


จำนวนรับเข้าศึกษา
60 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 15,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-962035
E-mail: humanadmission@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    

การศึกษาภาษา วรรณกรรม สังคมและวัฒนธรรมไทย โดยเน้นพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและบริบทสังคมร่วมสมัย พัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาไทยและการวิจัย เพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ


ปรัชญาของหลักสูตร
    

ภาษาและวรรณคดีไทย คือ คลังแห่งปัญญา ขุมแห่งอารยธรรมและรากฐานแห่งจริยธรรม


ความสำคัญของหลักสูตร
    

สาขาวิชาภาษาไทย เป็นศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ทักษะทางภาษาไทยทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีประสิทธิภาพทั้งในชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ อีกทั้งสามารถใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิผล โดยมีปณิธานที่จะจรรโลงภาษาและวรรณคดีไทย ให้คงเอกลักษณ์แห่งวัฒนธรรม


กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

-อาชีพรับราชการที่เกี่ยวข้องกับงานเอกสาร งานพัฒนาบุคคล เช่น งานธุรการ สารบรรณ เลขานุการ ฝ่ายพัฒนาบุคคล ฝ่ายฝึกอบรม นักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
-งานเอกชนด้านเอกสารต่าง ๆ และงานด้านพัฒนาฝึกอบรม เช่น พนักงานธุรการ สารบรรณ เลขานุการ ฝ่ายพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม นักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
-งานเอกชนด้านธุรกิจการพิมพ์ เช่น ประจำกองบรรณาธิการ พิสูจน์อักษร เป็นต้น
-งานสื่อสารมวลชน เช่น นักข่าว ผู้ประกาศทางวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
-งานด้านการเขียนทั้งบันเทิงคดี และสารคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี สารคดีประเภทต่าง ๆ
-นักวิชาการด้านภาษาไทย (นักวิจัยหรือผู้ช่วยวิจัย) ครู อาจารย์ (โดยอาจต้องศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่มเติม หลังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย)


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

PLO1 : มีวินัย ตรงต่อเวลา และปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์กร
PLO2 : อธิบายหลักภาษาไทยและวรรณกรรมไทยได้
PLO3 : อธิบายองค์ความรู้พื้นฐานในศาสตร์และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
PLO4 : ประยุกต์ความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมไทยเพื่อสร้างผลงานทางวิชาการได้
PLO5 : วิเคราะห์ วิจารณ์การใช้ภาษาและวรรณกรรมไทยได้
PLO6 : ทำงานเป็นทีม ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้งานสำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา
PLO7 : ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์
PLO8 : ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้นข้อมูลอย่างมีระบบ