คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

Doctor of Philosophy Program in Mechanical Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 35,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964231
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    -

ปรัชญาของหลักสูตร
    1.1 ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มุ่งสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพทางวิชาการ มีความสามารถในการทำวิจัยและพัฒนาในระดับสูง บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่และผลงานทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและสากล เพื่อตอบสนองการพัฒนาของประเทศได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน 1.2 ความสำคัญ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดเป็นสาขาพื้นฐานที่สำคัญในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ มีขอบข่ายงานกว้างขวาง อาทิเช่น การผลิต ออกแบบ และการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องยนต์ งานในอุตสาหกรรม พลังงานหมุนเวียน ยานยนต์ไฟฟ้า การออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์ อากาศยาน ระบบทำความร้อนและความเย็น เรือ ระบบการผลิต จักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เกษตรกรรมและการแปรรูป และงานในลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. งานที่เกี่ยวกับวิชาการทางสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย เช่น อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ เป็นต้น

2. เจ้าหน้าที่ นักวิจัย หรือวิศวกรประจำหน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน ตลอดจนองค์กรวิสาหกิจ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานด้านการทหาร เป็นต้น 

3. นักวิจัย หรือนักวิชาการในบริษัทเอกชน

4. ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านวิศวกรรมเครื่องกล



ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

1. เพื่อให้นิสิตสามารถอธิบายจริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัยตลอดจนประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาได้

2. เพื่อให้นิสิตสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาของระบบต่าง ๆ ทางวิศวกรรมเครื่องกลขั้นสูง

3. เพื่อให้นิสิตสามารถค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลสากลและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อให้นิสิตสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อใช้ในการออกแบบหรือพัฒนาระบบต่าง ๆ ทางวิศวกรรมเครื่องกล

5. เพื่อให้นิสิตสามารถบูรณาการองค์ความรู้และวางแผนวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 

6. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการใช้เทคนิคขั้นสูงทางวิศวกรรมเครื่องกลและเครื่องมือทางวิศวกรรมที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม

7. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการสื่อสารเชิงวิชาการในระดับสากล